คลังบทความของบล็อก

ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการฝึกไก่ การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไ...


ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการฝึกไก่
การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไ...
: "เทคนิคการฝึกไก่ การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไก่และซ้อมไก่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งบางครั้งต้องให้โอกาสไก่ด้วยไม่ใช่ว่าซ้อมไม่เก่งแล้วก็ปล..."

ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการฝึกไก่ การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไ...

ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการฝึกไก่
การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไ...
: "เทคนิคการฝึกไก่ การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไก่และซ้อมไก่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งบางครั้งต้องให้โอกาสไก่ด้วยไม่ใช่ว่าซ้อมไม่เก่งแล้วก็ปล..."

ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการฝึกไก่ การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไ...

ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการฝึกไก่
การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไ...
: "เทคนิคการฝึกไก่ การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไก่และซ้อมไก่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งบางครั้งต้องให้โอกาสไก่ด้วยไม่ใช่ว่าซ้อมไม่เก่งแล้วก็ปล..."

ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการคัดเลือกซื้อไก่รุ่นหนุ่มสำหรับมือใหม่

ไก่ชนสามสาย: เทคนิคการคัดเลือกซื้อไก่รุ่นหนุ่มสำหรับมือใหม่: "เทคนิคการคัดเลือกซื้อไก่รุ่นหนุ่มสำหรับมือใหม่ ไก่เก่งนั้นจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ - สายพันธุ์หรือเหล่าที่ดีที่เก่ง - ลัก..."

ไก่ชนสามสาย: ไก่ชนไทย

ไก่ชนสามสาย: ไก่ชนไทย: "ไก่ชนไทย ไก่ไทยเป็นไก่ที่มีลีลาฝีตีนแพรวพราว มีทั้งลูกล่อลูกชนยากจะหาไก่ชาติใดๆเสมอเหมือน คือ ทั้ง กอดขี่ บดบี้ ขยี้ ล็อก เท้าหุ่น ตีตัว ..."

ไก่ชนสามสาย: การดูแลไก่ชน หลังชนมา เมื่อไก่ชนชนะมาควรปฏิบัติอย...

ไก่ชนสามสาย: การดูแลไก่ชน หลังชนมา เมื่อไก่ชนชนะมาควรปฏิบัติอย...: "การดูแลไก่ชน หลังชนมา เมื่อไก่ชนชนะมาควรปฏิบัติอย่างไร เมื่อไก่ชนะระหว่างยก 3-5 ควรตรวจสอบดูว่ามันบาดเจ็บตรงจุดไหนบ้าง เมื่อตรวจพบบาดแผล ..."

ไก่ชนสามสาย: สมุนไพร บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต สมุนไพ...

ไก่ชนสามสาย: สมุนไพร บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
สมุนไพ...
: "สมุนไพร บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต สมุนไพรประเภทต้น ใช้บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต เปลือกเนื้อไม้ กำลังวัวเถลิง สรรพคุณบำรุ..."
เทคนิคการฝึกไก่
การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไก่และซ้อมไก่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งบางครั้งต้องให้โอกาสไก่ด้วยไม่ใช่ว่าซ้อมไม่เก่งแล้วก็ปล่อยทิ้งไม่ทำการซ้อมติดต่อกันการซ้อมจะต้องซ้อมถึง 5 ครั้งแล้วสังเกตดูลีลาว่าลีลาชั้นเชิงเป็นอย่างไรเพราะไก่ไม่เหมือนนักมวยตรงที่ว่าไก่จะตีตามความถนัดของตน การซ้อมแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าท่านตั้งหน้าตั้งตาซ้อมอย่างเดียว ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาเป็นอย่างดีต้องมีความสมบูรณ์ ไก่ที่มีความสมบูรณ์และสมบูรณ์ดีพอทำการซ้อมครบ 5ครั้งไม่มีอะไรดีขึ้นไม่มีการพัฒนาขึ้นมาท่านก็ควรพิจารณา
การฝึกไก่ชนตามชั้นเชิง ไก่ชนแต่ละซุ้มที่เลี้ยงกันอยู่นั้นปัจจุบันมีมากมายหลายเชิงหลายลีลาบางชั้นเชิงดีลีลาสวยแต่ตีไก่ไม่เจ็บ บางตัวไม่สวยชั้นเชิงไม่มากแต่ตีไก่เจ็บ ตีหนัก ทำให้คู่ต่อสู้ออกอาการ ฉะนั้นการฝึกไก่เราต้องฝึกให้ไก่เคยชินกับเชิงของมันเสียก่อน เช่น ไก่ชนที่มีเชิงขี่ทับล็อคคอ เราต้องหาคู่ซ้อมที่เรียกว่าครูฝึก ไก่ที่จะเป็นครูฝึกต้องเป็นไก่เชิงลายหัวหรือลงให้เตี้ยกว่าตัวขี่ เมื่อเราเอามาทำการฝึก ตัวขี่ล็อคคอมันจะเคยชิน ต้องซ้อมนวมหรือลงนวมแล้วไก่ตัวเชิงดีมันจะเคยชินกับชั้นเชิงของมันถ้าเราเอาที่ตัวชั้นเชิงเหมือนกันมาฝึกไม่ตัวใดตัวหนึ่งต้องสียเชิง พูดง่ายๆว่าเสียไก่ไปหนึ่งตัว เพราะว่าตัวที่เสียเชิงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆจะสู้ไม่ได้ ก็เลยลายหัวลงไปให้คู่ต่อสู้ขี่ล็อคคอทับเอาก็กลายเป็นเสียเชิง นานๆเข้าก็ติดเป็นนิสัย หรือที่เรียกกันว่า "เสียไก่" ไก่ชนลูกหนุ่มเราเห็นแววว่าเก่ง เราไม่ควรทำการซ้อมหนัก ควรซ้อมเบาๆไปก่อน ถ้านำไปซ้อมหนัก มันก็จะเสียไก่หรือเรียกว่าถอดใจไม่คิดสู้
การซ้อมไก่ชนถี่มากเกินไป การซ้อมไก่ชนถ้าซ้อมพอดี ก็จะเป็นประโยชน์ต่อไก่ของท่าน แต่ถ้าการซ้อมนั้นมีมากเกินไปจะไม่ดีและยังจะมีโทษต่อไก่ชนอีกต่างหาก การซ้อมไก่ชนถี่ๆและมากเกินไป จะทำให้ไก่ชนของท่านอ่อนแอและไม่มีความสมบูรณ์ เมื่อนำซ้อมครั้งต่อไป จะทำให้ไก่ชนของท่านคิดแต่จะหนีการซ้อมแต่ละครั้งเราควรต้องดูความสมบูรณ์ของไก่ด้วย ถ้าไม่มีความสมบูรณ์จะทำให้ไก่ทรุดโทรมลงไปอีก เมื่อไก่ทรุดโทรมผู้เลี้ยไก่บางท่านอาจจะปล่อยปละละเลยกลายเป็นไก่หมดสภาพทันที ไก่ชนแต่ละตัวจะมีความดีในตัวมันเอง การเข้าชนมันถนัดไม่เหมือนกัน บางตัวเข้าชนลายหัวให้แต่กลับตีไม่ถูกบางตัวเตี้ยแต่เวลาเข้าชนกับตะกายเหมือนจะกินกระหม่อมเพราะความถนัดของมันแต่ละตัว และเชิงชนของมันไม่เหมือนกันนั้นเอง ไก่ชนที่ท่านนำไปซ้อมเมื่อสู้คู่ต่อสู่ไม่ไหวท่านต้องเลิกทำการซ้อมทันที ถ้าท่านปล่อยไว้จนมันทนไม่ไหวจะทำให้มันทรุดและเลี้ยงไม่ขึ้น และเมื่อทำการซ้อมไก่เสร็จท่านควรหายาแก้ซ้ำในให้ไก่กิน


**การฝึกและการบริหารส่วนต่างๆของไก่ชนให้เป็นไก่นักมวยและแข็งแกร่งเพื่อจะให้ไก่ตัวโปรดมีพละกำลังและความคล่องตัวเวลาชน**
บริหารลำคอ ไก่ชนเวลาเข้าชน ลำคอเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้ ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา คอยหลอกล่อ หลบหลีก และจู่โจม และยังเป็นเป้าหมายในการโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ไก่ตัวใดที่มีลำคอไม่แข็งแกร่งมักจะเป็นโอกาสที่คู่ต่อสู้จะตีฝ่ายเดียวอันเป็นหนทางสู่ความพ่ายแพ้ การบริหารลำคอผู้ฝึกจะต้องนั่งลง เอามือซ้ายโอบรอบตัวไก่ให้แนบกับลำตัวมือขวาจับข้อต่อลำคอของไก่นวดเฟ้นลำคอตั้งแต่โคนคอขึ้นไปจนถึงหัว การนวดจะต้องนวดอย่างแผ่วเบา ต้องนวดขึ้นลงครั้งละ 20-30 หน ขณะที่นวดควรจับคอไก่โยกไปทางซ้ายทีขวาที ไปข้างหน้าและข้างหลัง สลับกันไปมา 20-30 ครั้งเพื่อให้คอไก่แข็งแรง เป็นการกระตุ้นลำคอเพื่อให้เกิดความต้านทานเวลาเข้าชน หรืออีกวิธีหนึ่งจับไก่ให้อยู่ระหว่างขาของผู้ฝึกให้ไก่หันหน้าไปทางเดียวกันกับผู้ฝึกใช้มือซ้ายโอบตัวไก่หรือจับที่ต้นคอหลวมๆมือขวาจับคอยืดและหดออกหลายๆครั้ง โยกไปทางซ้ายทีขวาทีหน้าหลังสลับกันไปมา 20-30ครั้ง แรกๆบริหารลำคอ 6-8 ครั้งก็พอแล้วค่อยเพิ่มขึ้นเมื่อไก่เริ่มชิน และเริ่มนวดขยำให้แรงขึ้นกว่าเดิม แต่อย่าแรงเกินไปจนทำให้ไก่หายใจลำบาก
การบริหารปีก ปีกนอกจากจะใช้ในการกระพือแล้วยังช่วยในการพยุงตัวและเข้าชนอีกด้วย หลังจากลูบน้ำและบริหารลำคอเรียบร้อยแล้ว ทำการบริหารปีกโดยการโอบไก่เข้าหาตัว ใช้มือซ้ายจับที่โคนปีกพอหลวมๆมือขวาจับตรงกลางข้อต่อของปีก จากนั้นให้นวดเฟ้นบริเวณตั้งแต่โคนปีกเรื่อยขึ้นไปจนถึงข้อต่อและปลายปีก เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหนัง ทำทั้งสองปีกสลับกันไปมาประมาณ 10-15 นาที หรือสอดมือทั้งสองข้างเข้าใต้ปีกซ้ายขวาพร้อมกันโดยหงายมือจับข้อต่อของปีกไก่ทั้งสองข้างแล้วดึงออกจนสุดปลายปีกพร้อมกับยกให้ไก่ตีนสูงขึ้นพ้นพื้นดินหรือจะจับทีละปีกปละหิ้วดึงขึ้นให้สูงให้ตีนพ้นดินสลับกันไปมาข้างละประมาณ 10 ครั้ง
ฝึกวิ่งทางตรง ถ้าอยากให้ไก่มีร่างกายแข็งแรงจะต้องปล่อยให้วิ่งและบินในตอนเช้าเป็นประจำ นำไก่ไปปล่อยไว้ในที่โล่งเริ่มจากยกตัวไก่สูงขึ้น จับตัวยกขึ้นยกลงอย่าให้เร็วหรือช้าเกินไป ไก่จะกางปีกพยุงตัวตามจังหวะที่ยกขึ้นลงเมื่อชินแล้วยกตัวไก่ขึ้นสูงๆปล่อยให้กางปีกบินถลาไปไกลๆ หรือยกตัวไก่ขึ้นกลางอากาศ ฝึกแรกๆ อย่าให้สูงนักการยกขึ้นลงควรได้จังหวะแล้วโยนขึ้นไปบนอากาศให้ไก่บินเองอีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้ไก่ล่อจับใส่กระเป๋าล่อ ให้ไก่ฝึกตีเจ้าของไก่พาไก่ล่อวิ่งทางตรงทันทีที่เจ้าของไก่ออกวิ่งไก่ชนจะวิ่งตามใช้เวลาฝึกประมาณ 20นาที
ฝึกล่อเป้า คือการฝึกให้ไก่ตีคู่ต่อสู้โดยที่คู่ต่อสู้ไม่โต้ตอบเพื่อให้ไก่ชนได้มีประสบการณ์ ได้ออกกำลังกาย ฝึกความคล่องตัว ฝึกนิสัย การไล่ตีคู่ต่อสู้รู้จักใช้ปากและสายตา ฝึกหลบหลีก เป็นการยั่วยุให้ไก่ดุ และได้ใจ การฝึกโดยวิธีนี้จะทำให้ไก่หลักไม่บอบช้ำ
วิ่งวงล้อ ไก่ชนบางตัวอาจยังไม่ชินกับการวิ่งวงล้อ ไก่อาจตกใจ การแก้ไขไม่ให้ไก่ตกใจนั้น ให้นำไก่ขี้ตกใจนั้นเข้าขังในวงล้อแล้วล็อกวงล้อให้อยู่นิ่งอย่าให้วงล้อหมุนเมื่อไก่คุ้นเคยกับวงล้อแล้วไม่มีอาการตกใจก็ปล่อยให้วงล้อวิ่งช้าๆก่อนจนกว่าไก่จะคุ้นเคยมากกว่านี้สำหรับไก่ที่ชินแล้วจะวิ่งในวงล้อเป็นชั่วโมง ท่านต้องผ่อนวงล้อให้วิ่งช้าๆก่อนไก่วิ่งวงล้อจะมีกล้ามขาที่แข็งแกร่งแต่ต้องลงนวมหรือซ้อมนวมด้วย
บริหารขา ทำโดยการบีบนวด ขยำ บริเวณกล้ามเนื้อที่ขาทั้งสองข้าง โดยนวดลูบลงเบาๆ ประมาณ 15-20 นาที เสร็จจากการนวดให้รวบขาทั้งสองข้างเข้าหากันยกขึ้นตรงๆบีบเข้าหากันสัก 2-3 ครั้ง จากนั้นพับตรงข้อต่อระหว่างแข้งขาเข้าหากันที่ละข้างโดยใช้นิ้วมือคั่นไว้ระหว่างกลางทำสลับกันทั้งสองขา นวดที่แข้ง นิ้วและดัดเบาๆ
การวิ่งสุ่ม ส่วนใหญ่จะทำหลังจากการล่อไก่มาแล้วเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกสายตาความไว ความคล่องตัว ความฉลาด ไหวพริบ ควรใช้สุ่มตาถี่ จับเวลา 20-30นาทีผู้ฝึกต้องยั่วยุให้ดุ เป็นการออกกำลังขาด้วย
บินหลุมหรือโดดกล่อง ขุดบ่อลึกประมาณ 50-60 เซ็นติเมตรเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตรถ้าท่านไม่มีลานที่เป็นพื้นดินก็ทำเป็นกล่องไม้สูงประมาณ120 เซนติเมตร ใช้ผ้ากระสอบป่านกั้น 1ด้านสูงเทียมอก ใส่ทรายลงไปที่ก้นหลุมหรือจะเป็นกระสอบปูแทนก็ได้เวลาฝึกจับไก่ลงไปให้ไก่บินขึ้นมาทำวันละ 100-200 ครั้งจะทำให้ไก่บินเก่งเป็นการฝึกกล้ามเนื้อขาและปีกไปในตัว
การฝึกโยนเบาะ เพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังปีกกำลังขา จะทำให้ปีกแข็งแรง เดินดี ตีแม่น บินดี วิธีนี้ให้ฝึกกับไก่ที่ชอบแปะหน้าตี เกี่ยวหัวตี ตีเท้าบ่า จะได้ผลดี ส่วนไก่เชิงขี่ ล็อค ม้าล่อ วิ่งชน จะไม่ดี วิธีการฝึกให้ให้วางเบาะหรือฟูก เอาไว้ ผู้ฝึกนั่งบนเก้าอี้ หงายมือซ้ายในลักษณะแบมือพยุงหน้าอกไก่ไว้ มือขวาคว่ำจับตรงโคนหางไก่เอาไว้จังหวะแรกมือซ้ายดันหน้าอกไก่โยนขึ้นให้ลอยพร้อมมือขวากดหางไก่ไว้ไก่จะลอยตัวขึ้นพร้อมกางปีกพยุงตัวซอยขาเพื่อเตรียมยืด ทำเช่นนี้ต่อกันวันแรก 20 ครั้งวันต่อมาเพิ่มทีละ 10 จนถึง 100 ครั้งเมื่อเห็นว่าไก่ไม่เหนื่อยให้ฝึกวันละ 100 ครั้ง
หลังจากทำการฝึกซ้อมไก่แล้วก็ควรให้ไก่ได้พักผ่อน การพักผ่อนเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับไก่ กล้ามเนื้อ ประสาททุกส่วนต้องการที่จะพักผ่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวเพราะถ้ากล้ามเนื้อไก่ฉีก เราจะไม่มีวันรู้เลยเพราะไก่พูดไม่ได้ ช่วงพักผ่อนควรให้ไก่อยู่เฉยๆอย่าให้ไก่ออกกำลังกายเป็นอันขาดช่วงนี้อย่าให้ไก่เครียด อย่าเสียงดังจะทำให้ไก่ตกใจการฝึกซ้อมไก่ควรทำตารางการฝึกไว้ด้วยจะเป็นการดีมาก


เลือดลงแข้ง
เลือดลงแข้งเป็นอาการที่เกิดจากการซ้ำบวมของขาไก่ ไม่ใช่โรคร้ายที่จะทำให้ไก่ถึงกับตายอย่างเฉียบพลันแต่อาจจะทำให้ถึงกับพิการได้เหมือนกันหากมีความรุนแรงมากจึงควรรีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ
สาเหตุเกิดจาก การสมบุกสมบันมากจนเกินไปในการใว้ขาอย่างไม่รู้จักบันยะบันยังของไก่เอง หรืออาจจะเกิดจากความบกพร่องของคนเลี้ยงที่อาจจะมีการออกกำลังกายหรือหักโหมให้ไก่ใช้ขามากจนเกินไป อันนี้ก็สามารถที่จะทำให้เกิดเลือดลงแข้งได้เหมือนกัน
การดูแล เพียงแต่การออกกำลังกายให้ระวังในเรื่องนี้ และคอยควบคุมป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเลือดลงแข้ง วิธีการนี้จะถือว่าดีที่สุด เพราะเลือดลงแข้งจะเป็นอาการของการช้ำลำแข้ง หรือที่เรียกกันว่ารองช้ำในไก่ก็ได้
ลักษณะของอาการ บริเวณแข้งหรือขาของไก่จะมีการบวม สัมผัสดูจะรู้สึกได้ถึงความนิ่มของแข้งอย่างชัดเจน ประกอบกับมองดูก็จะเห็นถึง ลักษณะของแข้งรวมไปจนถึงเกล็ดมีอาการช้ำ จนเกล็ดมีสีแดงอมเลือดเลยทีเดียว
วิธีการรักษาพยาบาล ขั้นตอนแรกก็จะต้องใช้น้ำอุ่นประคบเพื่อให้มีการคลายของกล้ามเนื้อเสียก่อน หลังจากนั้นรอให้แข้งเย็นสักหน่อย แล้วใช้น้ำเย็นประคบตามทุกครั้ง ภายหลังจากการประคบด้วยน้ำอุ่น
ขั้นตอนที่สอง เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนแรกแล้วก็ให้ใช้น้ำมันมวย หรือเค๊าเตอร์เพนบาร์ม อะไรก็ได้ที่ทาแล้วช่วยแก้อาการช้ำบวมได้มาทา และอาจจะมีการนวดเบาๆนิดหน่อยด้วยก็จะดีมาก
ข้อควรระวัง ห้ามทำการนวดแรงๆโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดอักเสบ ช้ำบวมมากยิ่งขึ้น เสร็จแล้วก็ต้องระวังให้ไก่อยู่อย่างสงบ อย่าให้ไก่ใช้กำลังขามากจนเกินไป เดี๋ยวจะเกิดการช้ำบวมขึ้นมาอีก พยายามปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งคัดอาการก็จะทุเลาและหายไปในทีสุด
ข้อควรระวังหลังการรักษา อาการเลือดลงแข้งสำหรับในไก่ที่เคยเป็นมาแล้ว อาการนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ใหม่ในทุกเวลา หากเกิดมีการหักโหมอีก จึงควรระวังให้มากเลยทีเดียว
สมุนไพร บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
สมุนไพรประเภทต้น ใช้บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
เปลือกเนื้อไม้ กำลังวัวเถลิง สรรพคุณบำรุงกำลัง ร่างกาย โลหิต บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรงเสมอ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
เนื้อไม้กำลังช้างเผือก บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
เนื้อไม้กำลังเสือโคร่ง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงเส้นเอ็นให้สมบูรณ์ แข็งแรงดีเสมอ แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
รากกรรณิการ์ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ทำให้ผิวพรรณสดชื่นอยู่เสมอ
รกหุ้มเมล็ดลูกจันทน์ (ดอกจันทน์ ) บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต สร้างความสดชื่นแก่ผิวหนังได้
รากแจง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
รากพญารากขาว ชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรงกลับฟื้นคืนมาได้
เปลือกกรวยป่า บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
แก่นพิกุล บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
ม้ากระทืบโรง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง
ใบ เปลือก อันตคุณ บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต
แก่นกฤษณา บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ
แก่นปรู บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงน้ำเหลือง
แก่นสักขี บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
แก่นไม้สัก บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก
แก่นประดู่ลาย บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
เปลือกต้นเพกา แก่นขนุน เนื้อไม้เถาตาไก่ แกแล ทั้ง 4 อย่างนี้ก็เหมือนกันกับ แก่นประดู่ลาย สมุนไพรแต่ละอย่างเอามาต้ม เอาน้ำให้ไก่กินได้
สมุนไพรประเภทเถา
ดอกปรงป่า เถาชิงช้าชาลี ผลชะเอมจีน (เทศ ) บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
เปลือกอบเชยไทย-อบเชยญวน บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
เถาคอเป็ด เถาคัดเค้า บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต และยังมีสรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ด้วย
เถาโคคลาน บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต และยังมีสรรพคุณในทางแก้อาการปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ เส้น เอ็นต่างๆ
สมุนไพรแต่ละอย่างเอามาต้มเอาน้ำให้ไก่กินได้
สมุนไพรประเภทหัว
เหง้ากระชาย รากชะลูดขาว หัวรากเร็ดหนู หัวแห้วหมู บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
หัวถั่วฟู บำรุงกำลัง ทำให้หายอ่อนเพลีย ทำให้จิตใจอ่อนหล้าเกิดความชุ่มชื่น
หัวรากใหญ่โสมคน บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงเส้น เอ็น ให้สมบูรณ์ แข็งแรง
สมุนไพรประเภทผัก หญ้า
ดอกผักโหมหิน กาบลิงหโมรา ดอกคำไทย หญ้าฝรั่ง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต
รากขัดมอน หญ้าปีนตอ เห็ดตับเต่า บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ตับ ปอด
ดอกคำฝอย บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงน้ำเหลือง
ต้นน้ำนมราชสีห์ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
สมุนไพรที่มีสรรพคุณพิเศษ ช่วยในการบำรุง
แก่นฝาง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต ทำให้โลหิตเย็น
หนามพรม บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยทำให้เส้นเอ็นสมบูรณ์ แข็งแรงดี
งาดำ บำรุงกำลังบำรุงร่างกาย สมุนไพรแต่ละอย่างนำมาต้มเอาน้ำให้ไก่กินได้
สัตว์วัตถุ สมุนไพรอย่างหนึ่ง
สมุนไพรยังมีประเภทที่เรียกว่า สัตว์วัตถุ อีกอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่ได้มาจากสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของโลหิต เนื้อ หนัง เส้นขน กระดูก เขา หรือส่วนอื่นๆ เอามาปรุงเป็นยาสมุนไพรได้
เลือดค่าง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี โดยเฉพาะเส้นเอ็น
กระดูกค่าง บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
เลือดแรด บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต กระจายโลหิต
เลือดค้างคาวแม่ไก่ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตให้สมบูรณ์ บริสุทธิ์
รังนกนางแอ่น บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ให้สมบูรณ์ แข็งแรงอยู่เสมอ
สมุนไพรคุมธาตุ ช่วยย่อย แก้โรคกระเพาะ
สมุนไพรประเภทต้น
รากกรรณิการ์ รากกุ่มน้ำ เปลือกกรวยป่า เมล็ดข่อย เปลือกและเนื้อต้นตะโกนา ผลมะตูมแก่ เปลือกโมกมัน เปลือกโมกหลวงบำรุงธาตุ ช่วยย่อย
เนื้อไม้กำลังเสือโคร่ง คุมธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้
ใบกรรณิการ์ บำรุงน้ำดี ทำให้การย่อยสมบูรณ์
ใบต้นแก้ว บำรุงธาตุ ช่วยย่อย ขับลม แก้อาการ จุก เสียด แน่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
เปลือกทิ้งถ่อน แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้อาการธาตุพิการ
เปลือกต้นทำมัง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ในไส้
เปลือก เทพทาโร แก้อาการจุก เสียด แน่น เฟ้อ ในท้อง ในไส้ แก้ปวดท้อง ขับลม
รากนางแย้ม รักษาลำไส้อักเสบ ขับปัสสาวะ ไตพิการ
ใบหนาดใหญ่ แก้อาการจุก เสียด แน่น เฟ้อ ขับลม
ผลปรู แก้อาการจุก เสียด บำรุงธาตุไฟ
ต้นเปราะหอมแดง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ทำให้ระบบการย่อยเป็นไปด้วยดี
รากพญารากขาว บำรุงธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร
เนื้อไม้ แก่นมะเกลือเลือด แก้ธาตุพิการ แก้กระษัย
ผลมะตูมอ่อน บำรุงธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร ขับลม
ผลมะตูมสุก ช่วยย่อย แก้อาการเป็นลมเสียดแทงในท้อง ในไส้ บำรุงธาตุ
เปลือกเนื้อไม้มะพลับ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
เนื้อไม้มะหาด ขับลม แก้อาการจุกเสียด แน่น
ใบสะระแหน่ญวน แก้อาการจุก เสียด แน่น ขับลม
ใบสะระแหน่ไทย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับลม
สมุนไพรประเภทเถา
ใบคนทีสอขาว ดอกชะเอมไทย บำรุงธาตุ ช่วยย่อย
ราก เถา ใบ กระทงลาย แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง แก้บิด
รากชะอม แกอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้
ดอกชะเอมป่า บำรุงน้ำดี แก้น้ำดีพิการ
เมล็ดพริกหาง บำรุงธาตุ ช่วยย่อย ขับลม ขับปัสสาวะ
เถาสะค้าน ขับลมในลำไส้ แก้อาการจุก เสียด
ใบสวาด แก้อาการจุก เสียด แน่น ขับลม
รากอบเชยเถา ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดมวนในลำไส้
สมุนไพรประเภทหัว
เหง้าหรือหัวกะทือ แก้อาการปวดมวนในไส้ ในท้อง แก้อาการแน่น เสียด ขับลม ขับปัสสาวะ
หัวกระเทียม บำรุงธาตุ ช่วยย่อย ขับลม แก้อาการปวดมวนในท้อง ในไส้
หัวกระแตไต่ไม้ คุมธาตุ ช่วยย่อย ขับปัสสาวะ
หัวดองดึง แก้อาการท้องอืด เฟ้อ ขับลม
หัว ราก เร็ดหนู บำรุงธาตุช่วยย่อย เจริญอาหาร
เหง้าข่า แก้อาการปวดมวนในท้อง ขับลมในลำไส้
หัวแห้วหมู บำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว
หัวบัวบกป่า บำรุงธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร
หัวว่านนางคำ ขับลม แก้อาการปวดท้อง
หัวหอมขาว บำรุงธาตุ ช่วยย่อย
สมุนไพรประเภทผัก-หญ้า
สมุนไพรประเภท ผัก หญ้า ก็มีสรรพคุณที่ล้ำเลิศยิ่งหนักโดยเฉพาะในการนำเอามาปรุงเป็นยารักษาอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารคุมธาตุช่วยย่อยแก้อา การของโรคกระเพาะอาหารไม่เป็นปกติ แผลในกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ก็ตาม สามารถเอามารักษาอาการเหล่านี้ให้ทุเลาลงและหายไปได้ในที่สุด
ต้นผักโหมหนาม แก้อาการแน่นท้อง เสียดท้อง ขับปัสสาวะ
เมล็ดผักชีล้อม แก้ธาตุพิการ คุมธาตุ ช่วยย่อย ขับลมในลำไส้
ผักขวง บำรุงน้ำดีหรือน้ำย่อยให้เป็นปกติ ทำให้ระบบการย่อยได้ดี
ผักโหมหิน แก้ดีพิการ ขับลม
ผักชีลาว บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้
ผักปลังแดง รักษาอาการกระเพาะอาหารพิการ อุจจาระพิการ
รากผักหวานป่า แก้อาการน้ำดีพิการ
ผักเสี้ยนผี เจริญไฟธาตุ แก้ปวดท้อง อาการท้องร่วง ท้องเสีย
หัวกกลังกา แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
ใบจันทน์หอม แก้อาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการธาตุพิการ
ต้นหญ้าดอกขาว แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง เสียดท้องไส้
หญ้าตีนนก บำรุงธาตุ ช่วยย่อย แก้ดีพิการ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ
ใบแมงลัก ขับลมในลำไส้ แก้ลำไส้พิการ
กาบลิงหะโมรา ทำให้เจริญอาหาร
ใบโหระพา ขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว ขับลม
สมุนไพรรสร้อน คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้โรคกระเพาะ
กระเพราแดง แก้อาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ คุมธาตุ ช่วยย่อย ขับลม แก้อาการจุกเสียด แน่น
ใบกะเพราป่า ขับลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อย
ใบกระวาน ขับลม ช่วยย่อย
เปลือกกุ่มบก แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม คุมธาตุ ช่วยย่อย
รากหงอนไก่ดอกกลม บำรุงธาตุ ช่วยย่อย ขับเสมหะ
เถาดีปลี แก้จุกเสียด ปวดท้อง ขับเสมหะ
เมล็ดพริกไทย บำรุงธาตุ ช่วยย่อย ขับลมในลำไส้
สมุนไพรรสสุขุม คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้โรคกระเพาะ
ดอกการะเกด บำรุงธาตุ ช่วยย่อย
แก่นกฤษณา คุมธาตุ ช่วยย่อย บำรุงตับ ปอด
จันทร์เทศ บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ ขับลมในลำไส้
รากแฝกหอม ขับลมในลำไส้
เหง้ากระชาย แก้อาการปวดมวนในท้องในไส้ ขับลมแก้บิด มูกเลือด
สมุนไพรรสฝาด
รากกรด แก้อาการจุก เสียด ปวดมวนในท้องในไส้ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย สมานลำไส้
เปลือกคาง แก้ลำไส้พิการ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
เปลือกผลทุเรียน คุมธาตุ ช่วยย่อย สมานลำไส้ให้เป็นปกติ
เนื้อไม้ประดู่ลาย คุมธาตุ ช่วยย่อย
เปลือกฝิ่นต้น คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้อาการท้องร่วง
เปลือกต้นเพกา แก้อาการจุก เสียด ขับลม แก้บิด
รากเพกา บำรุงธาตุ ช่วยย่อย แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
เปลือกต้นพุทรา แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้อาเจียน
เปลือกต้นมะกอก แก้อาการปวดมวน แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
เปลือกต้นมะกา สมานลำไส้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อไม่ปกติ
เปลือกต้นมะเดื่อ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
เปลือกต้นมะเดื่อดง แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
เมล็ดในมะม่วง แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
เปลือกผลมังคุด แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้บิด
เปลือกหว้า แกอาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้บิด
ผลหว้า คุมธาตุ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
ผลสมอพิเภก คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้บิด
เปลือกต้นน้อยหน่า แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย สมานลำไส้
ผลน้อยโหน่งดิบ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้บิด
เนื้อไม้กระทกรก คุมธาตุ ช่วยย่อย
ก้อนสีเสียดไทย คุมธาตุ ช่วยย่อย สมานลำไส้ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย บิด
สมุนไพรรสหวาน
ดอกคาง คุมธาตุ ช่วยย่อย
เปลือกต้นอบเชยญวน บำรุงธาตุ ช่วยย่อย แก้อาการจุกเสียด แน่น
ตานหม่อน คุมธาตุ ช่วยย่อย
สมุนไพรรสเบื่อเมา
ใบกระทุ่มขี้หนู แก้อาการปวดมวนในท้องในไส้ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
เปลือกต้นรักเทศ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้บิด
สมุนไพรรสขม
เทียนตาตั๊กแตน คุมธาตุ ช่วยย่อย ขับเสมหะ
เทียนลวด แก้ดีพิการ ขับน้ำดีให้ทำงาน
เทียนขม แก้ดีพิการ
ผลทองหลางใบมน บำรุงน้ำดี
รากประทัดใหญ่ คุมธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร
รากระย่อม แก้อาการจุก เสียด แน่น คุมธาตุ ช่วยย่อย
เมล็ดรักเทศ คุมธาตุ ช่วยย่อย
เมล็ดราชดัด บำรุงน้ำดี แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว
กระพี้สะเดา แก้น้ำดีพิการ
เปลือกต้นสะเดา แก้บิดมูกเลือด
สะเดาดง แก้ธาตุพิการ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย ดับพิษร้อน
ผลสมอไทย แก้อาการลมจุกเสียดในท้องในไส้ ผายธาตุ ระบายโรคป่วง
ผลสมอดีงู ระบายท้องไส้
ผลกระดอม บำรุงน้ำดี คุมธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร
เถาขี้กาแดง บำรุงน้ำดี คุมธาตุ ช่วยย่อย
เถาขี้กาขาว บำรุงน้ำดี ช่วยย่อย
ใบ ราก มะแว้ง คุมธาตุ ช่วยย่อย
ใบชิงช้าชาลี บำรุงไฟธาตุ ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ
ตาต้นอ้อยแดง คุมธาตุ ช่วยย่อย ขับปัสสาวะ
สมุนไพรรสเผ็ดร้อน
เมล็ดเทียนแดง แก้ดีพิการ แก้อาเจียน แน่น
เมล็ดเทียนขาว แก้ดีพิการ
เทียนเยาวพาณี แก้อาการคลื่นเหียน อาเจียน ขับลม
เทียนตากบ คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้กระเพาะอาหารพิการ ขับลมในลำไส้
รากเจตพังคี แก้อาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย
รากเจตมูลเพลิงแดง บำรุงไฟธาตุ คุมธาตุ ช่วยย่อย
ดอกปรงป่า แก้ดีพิการ คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้ลม
ใบพิลังกาสา แก้ตับพิการ
ต้นมะไฟเดือน 5 คุมธาตุ ช่วยย่อย
เปลือกต้นมะรุม คุมธาตุอ่อนๆ ขับลมในลำไส้
มหาหิงคุ์ แก้อาการจุก เสียด แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ขับลม เจริญอาหาร
เอื้องเพชรม้า ขับลมในลำไส้ แก้เถาดานในท้อง แกกระษัย
การบูร คุมธาตุ ช่วยย่อย ขับลม แก้อาการปวดท้อง
ก้านพลู แก้ปวดท้อง
เถาเพชรหึง แก้อาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ขับลม
เนื้อไม้สัก คุมธาตุ ช่วยย่อย
แก่นสักขี คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้อุจจาระพิการ
สมุนไพรรสมัน
แก่นกันเกรา คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย ขับลม แก้มูกเลือด บำรุงม้าม
สมุนไพรรสเค็ม
เปลือกโกงกาง แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้อาเจียน
เปลือกแค แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย คุมธาตุ ช่วยย่อย
เปลือกต้นตะบูน แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้บิด สมานลำไส้
สมุนไพรรสเปรี้ยว
ใบกระเจี๊ยบ ขับเมือกมันในลำไส้ออก
ใบ ผล ชะมวง คุมธาตุ ช่วยย่อย ระบายท้อง
เนื้อผลมะกอก คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้ธาตุพิการ แก้บิด
ใบมะขาม แก้บิด ขับลมในลำไส้
สมุนไพรรสจืด
เนื้อ เปลือก ตานเสี้ยน แก้อุจจาระพิการ เป็นฟองผิดปกติ
รากรักขาว แก้อุจจาระเป็นมูกเลือด
สมุนไพรพิเศษ
หญ้าตีนกา บำรุงน้ำดี แก้น้ำดีพิการ
หัวแห้วหมู เปลือกเพกา คุมธาตุ ช่วยย่อย
เถาชิงช้าชาลี บำรุงน้ำดี
เถาขี้กาทั้ง 2 บำรุงน้ำดี
เถามะระ ผักขวง ดอกจำปี ดอกจำปา ดอกปีบ ขี้กาแดงทั้ง 5 มะระทั้ง5 น้ำเต้าขม บำรุงน้ำดี
ดอกอังกาบเหลือง -ขาว น้ำอ้อยแดง บำรุงธาตุทั้ง4
เปลือกต้นสีเสียด ดอกมะพร้าว แก้ท้องร่วง ท้องเดิน
ลูกบิด แก้ท้องเสีย ท้องเดิน แก้บิด
เปลือกแคแดง-ขาว แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แก้บิด สมานแผลในลำไส้
เกสรดอกกะทือ คุมธาตุ ช่วยย่อย แก้ลม
ดอกกานพลู คมธาตุ ช่วยย่อย แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ลมลงเบื้องต่ำ
ใบเงิน- ใบทอง ใบมะยม ผักแพงพวย แก้หวัด ดับพิษร้อน
เปลือกเมล็ดบัวหลวง เปลือกฝักบัวหลวง แก้อาการท้องเสีย ท้องเดิน
เปลือกต้นพุทรา แก้อาการท้องเสีย ท้องเดิน แก้อาเจียน
แก่นสน แก้ท้องเสีย ท้องเดิน
แก่นคูน แก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้ธาตุพิการ
ผลมะตูม คุมธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร ขับลม
รากมะตูม บำรุงน้ำดี แก้น้ำดีพิการ
เปลือก เนื้อไม้ ต้นมะพลับ คุมธาตุ ช่วยย่อย เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ขับลม
หัวกกลังกา คุมธาตุ ช่วยย่อย
รากไทรย้อย สมานลำไส้ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย
รากหมากเมีย สมานลำไส้
ฝักราชพฤกษ์ ระบายท้อง ใช้มากเป็นยาถ่าย
ผักเสี้ยนผี แก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้ลมในท้องเสียดแทง
เถาบวบขม แก้น้ำดีพิการ

การดูแลไก่ชน หลังชนมา เมื่อไก่ชนชนะมาควรปฏิบัติอย่างไร

การดูแลไก่ชน หลังชนมา
เมื่อไก่ชนชนะมาควรปฏิบัติอย่างไร
เมื่อไก่ชนะระหว่างยก 3-5
ควรตรวจสอบดูว่ามันบาดเจ็บตรงจุดไหนบ้าง เมื่อตรวจพบบาดแผล ต้องรีบรักษาโดยด่วน เมื่ออาการบาดเจ็บหายดีแล้วยัง
ไม่ควรอาบน้ำร้อน ควรให้อาบน้ำธรรมดาไปก่อน แล้วปล่อยลงดินให้มันได้คลุกฝุ่นบ้าง เพื่อเป็นการคลายความตึงเครียดของร่างกาย เมื่อมันนอนคลุกฝุ่น ดีแล้วก็จับมาอาบน้ำเย็นและทำการซ้อมเบา เพื่อวอร์มร่างกายให้คืนสภาพเดิม เมื่อดูว่าร่างกายคืนสถาพเดิมดีแล้ว นำไปซ้อมจริง 1 ยก แล้วนำมาเลี้ยงตาม ปกติ เพื่อเตรียมพร้อมในการออกชนต่อไป และการอาบน้ำร้อนควรไม่เกิน 15 วันสำหรับไก่ชนที่ชนะมา
ส่วนไก่ชนที่ชนะตั้งแต่ยก 6 ขึ้นไป
ก็ทำเหมือนกัน ถ้ามีแผลที่ใบหน้าก้รีบรักษาโดยทันที เมื่อบาดแผลเริ่มเป็นสะเก็ดแข็ง และแห้ง ควรถ่ายยาแก้ช้ำใน หลังจากถ่ายยาแล้ว สะเก็ดแผลหลุดหมดแล้ว ก็เริ่มทำการออกกำลังกายได้
ไก่ชนเมื่อหมดสภาพไม่ควรทำลาย
ไม่ว่าไก่จะแพ้หรือหมดสภาพ จะต้องคิดก่อนว่าจะทำอย่างไร ห้ามทำลายหรือปล่อยทิ้ง ทางที่ดีต้องตอบแทนบุญคุณมันบ้าง โดยการหาที่ว่างๆสักหน่อยพอที่ จะให้มันอยู่กับตัวเมียที่เราหามาให้ เพาะเอาลูกมันไว้สักคอกหนึ่ง เมื่อเราเอาใจใส่กับมันสภาพจิตใจมันก็จะดีขึ้น และอาจจะให้ลุกไก่ชนดีๆสักคอกก็ได้ ไก่ชน ทุกตัวมันจะคุ้นเคยกับเจ้าของที่เลี้ยงมัน เมื่อมันเห็นคนเลี้ยง มันก็จะแสดงอาการดีใจ คนเลี้ยงไก่ชนจะมีความผูกพันกับไก่เป็นพิเศษ เราต้องรู้จักเอาใจใส่มัน ให้ดีและดูแลให้ความรักกับมัน ไก่ชนก็มีจิตใจเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ควรทิ้งขว้าง ควรเก็บและรักษามันไว้ให้ดี
การทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงไก่ชน
เรื่องความสะอาดต้องมาเป็นอันดับแรก เพราะบริเวณที่เลี้ยงไก่ นอกจากไก่ชนแล้วอาจมีสิ่งอื่นๆ เช่น เห็บ ไร ที่มีตามตัวไก่ หรือแม้แต่สุ่มขังไก่ก็อาจจะมี ไรเกาะอยู่ ถ้าสังเกตดีๆไรจะเกาะอยู่ตามหัวสุ่ม
ขี้ไก่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรทำความสะอาดทุกครั้ง เช่น ขี้ไก่อาจจะติดใต้อุ้งเท้าไก่ เมื่อมันแห้งก็จะติดอยู่อย่างนั้น เมื่อมันกระโดดหรือเดินย่ำอยู่เรื่อยๆ มันก็ จะไปหนุนใต้อุ้งเท้า ทำให้อุ้งเท้าแข็งจนเป็นไตหรือก้อนเนื้อแข็งใต้อุ้งเท้า หรือที่เราเรียกว่า " หน่อ" หรือไม่อาจจะมีพยาธิติดมากับขี้ไก่ ไก่ก็จะติดพยาธิได้ ฉะนั้นเมื่อจะนำไก่เข้านอนควร ทำความสะอาดทุกครั้ง เมื่อบริเวณที่เลี้ยงไก่สะอาด สุขภาพของไก่ก็จะดีมีความสมบูรณ์
การดูแลรักษาไก่หลังจากชนมาแล้ว
หลังจากที่นำไก่ออกมาจากสังเวียนแล้ว ให้กราดน้ำเช็ดตัวไปตามปกติ เช็ดตามบริเวณใบหน้าที่มีเลือดติดอยู่ออกให้หมด ถ้าเช็ดออกไม่หมดอาจทำให้เกิดปรวดได้ และถ้ามีแผลเย็บไว้ จะเป็นแผลถ่างตา แผลตามหัว เข้าปากไว้ ให้ตัดด้ายที่เย็บไว้ออกให้หมด เพราะถ้าไม่ตัดด้าย อาจจะทำให้แผลหายช้า หรือแผลหายไม่สนิทเหมือนเดิม ตัดด้ายออกให้หมดแล้วเช็ดด้วยกระเบื้องให้แห้ง ทาด้วยยาเพนนิสรินใส่แผลชนิดขี้ผึ้งทาทิ้งไว้
ถ้าไก่ถูกตีมากๆ ขนาดมาถึงบ้านแล้วยังไม่ลุก นอนตลอดเวลา ให้เอาน้ำเกลือแห้งนิวเพาร์เวอร์ครึ่งซองผสมน้ำพอประมาณ ให้กินแทนข้าวไปก่อนสัก 2 วันเช้า-เย็น พร้อมกับยาแก้อักเสบให้กินวันละ 1 เม็ด ในระยะ 2 วัน ห้ามกินข้าวสุก ข้าวเปลือกเป็นอันขาด โดยเฉพาะกล้วย เพราะกล้วยนั้นย่อยยากมาก ควรให้น้ำเกลือไปก่อน หลังจาก 2 วันไปแล้ว ลองเอาข้าวสุกให้กินก่อนให้กินกับน้ำเกลือก็ได้ ให้มื้อละ 2-3 ก้อน เช้า-เย็น แล้วลองสังเกตดูว่าย่อยหมดกระเพาะไหม ถ้าย่อยหมดก็ให้กินเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ให้ยาบำรุงร่างกายด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้ไก่ฟื้นตัวเร็ว พอไก่ฟื้นตัวแล้วควรปล่อยให้ไก่อยู่ในที่กว้างๆที่มีหญ้าแพรกสดให้กิน อย่าให้อยู่แต่ในสุ่มเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ไก่ตึง หลังจากไก่ฟื้นตัวได้ 15 วัน ควรถ่ายยาลุภายในร่างกายที่ถูกตีมา ถ่ายช้ำใน ถ่ายด้วยยาสมุนไพร ไม่ใช่ใช้ยาถ่ายพยาธิถ่าย ถ่ายในร่างกายให้หายจากการฟกช้ำดำเขียว หลังจากถ่ายยาลุได้ 7 วัน ลองให้ไก่วิ่งสุ่มเบาๆไปก่อน เพื่อเป็นการยืดเส้น ยืดสายไปในตัว ยาถ่ายลุนี้ทำด้วยสมุนไพรมีดังนี้
1. ไพล 2 หัวใหญ่
2. เกลือแกงครึ่งช้อนแกง
3. น้ำตาลปีบ 1 ช้อนแกงพูน
4. มะขามเปียก 1 ปั้น
5. ยาดำเล็กน้อย
เอามาตำให้ละเอียด ผสมกันให้เข้ากันดี ให้กินครั้งละ 2-3 ก้อนเท่าหัวแม่มือ แล้วให้น้ำอุ่นๆกินให้เกือบเต็มกระเพาะ ทิ้งไว้ในบริเวณที่สะอาดๆ และต้องคอยดูด้วยว่าไก่ถ่ายยาออกหมดหรือยัง คลำดูกระเพาะจะรู้ ถ้าหมดแล้วควรให้กินข้าวสุกทุกครั้ง ไก่เวลาถ่ายยาแล้วให้กินข้าวเปลือกส่วนมากจะไม่ค่อยย่อย หรือย่อยไม่หมด ควรให้กินข้าวสุกก่อนเป็นการดี
ถ้าไก่ที่ชนมาแล้วตามเนื้อตามตัวมีรอยฟกช้ำดำเขียว ให้เอาเคาร์เตอร์เพนบาล์ม ทาตามรอยที่ฟกช้ำบางๆ เอานิ้วชี้ขยี้ให้ทั่วบริเวณที่ฟกช้ำ อย่าใช้ยามากจนเกินไป เพราะเคาร์เตอร์เพนบาล์มเป็นยาร้อน แต่ถ้าใช้บางๆแผลฟกช้ำของไก่จะหายเร็วกว่ายาชนิดอื่นๆ อย่าเอาไปทาที่แข้งของไก่เป็นอันขาด ถ้าทา เกล็ดของไก่จะหลุดหมด ทาได้ตามเนื้อหนังเท่านั้น ส่วนที่เป็นเกล็ดห้ามทา
เทคนิคการเปรียบไก่
1. เข้าใจสรีระของไก่
กระดูกหรือโครงสร้าง ไก่ที่มีกระดูกหรือโครงสร้างใหญ่ ย่อมเป็นไก่ที่แข็งแกร่งทรหด เรียกว่าตีเท่าไรไม่หยุบ ดังนั้นเวลาเปรียบไก่ เมื่อจับไก่คู่ต่อสู้ดูแล้วว่ากระดูกหรือโครงสร้างต่างๆใหญ่ เช่น กระดูกอก ขา แข้ง คอและปีกใหญ่กว่าไก่ของเรา แม้ว่าจะมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกันก็ไม่ควรตีด้วย
ลักษณะลำตัว ไก่บางตัวมีลำตัวยาว ทำให้เวลาจับรู้สึกว่าเล็ก กว่าไก่ที่มีลำตัวสั้นเวลาจับจะโตกว่า ดังนั้นเวลาจับไก่ดูว่าเล็กหรือใหญ่อย่างเดียว จะถือว่าได้เปรียบ เสียเปรียบไม่ได้ ต้องดูน้ำหนักด้วย โดยการยกขึ้นเปรียบเทียบกัน ดูว่าใครหนักกว่ากัน ปกติแล้วไก่ที่ตัวยาวเวลาเราจับยกขึ้นจะรู้สึกว่าน้ำหนักเบากว่าไก่ที่ตัวสั้นและจับใหญ่กว่า ข้อเท็จจริงไก่ตัวยาวมักจะมีน้ำหนักมากกว่า นอกจากนี้ไก่ที่จับยาวกว่า ถ้าสูงเท่ากันเวลาเข้าชิงชนแล้ว ไก่ที่ตัวยาวเวลากระดกขึ้นจะสูงกว่าไก่ที่ตัวจับสั้น ดังนั้นผู้เปรียบไก่ต้องระวังในเรื่องนี้เป็นพิเศษ
ไก่อกกว้าง อกแคบ ไก่อกกว้างมักเป็นไก่ที่แข็งแรง และมักได้เปรียบไก่ที่อกแคบ
ปั้นขาใหญ่ ปั้นขาเล็ก ไก่ปั้นขาใหญ่มักจะเป็นไก่ที่แข็งแรงกว่าไก่ที่ปั้นขาเล็ก
แข้ง ขา สั้น ยาว ไก่ที่มีแข้งขา และแข้งยาวกว่า ย่อมสูงกว่าไก่ที่แข้งขาสั้นกว่า แม้ว่าเวลายืนจะยืนงอขาทำตัวซอมซ่อดูเตี้ยกว่า ข้อควรระวัง ไก่บางตัวแข้งสั้นแต่ขายาว จะดูแต่แข้งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทั้งขาแข้งรวมกัน
คอสั้น คอยาว ไก่ที่สูงเท่ากัน ไก่ตัวที่คอยาวย่อมได้เปรียบ เวลาเข้าเชิงชนจะสูงกว่า นอกจากนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าขนาดของคอใหญ่ คอเล็ก เพราะไก่ที่คอใหญ่กว่า ยาวกว่าย่อมได้เปรียบไก่คอสั้น คอเล็กเป็นธรรมดา ข้อสังเกต ไก่คอสั้นมักเป็นไก่กอด ไก่ขี่ มากกว่าไก่ที่คอยาว หรือลักษณะคอสองวง
2. ลักษณะการยืนของไก่
ไก่บางตัวยืนหยิ่ง เรียกว่าสูงเท่าไรยืนสูงเท่านั้น บางตัวยืนก้อยไม่ติดดินก็มี ไก่บางตัวยืนทอดขนานกับพื้นดูว่าเป็นไก่เตี้ย แต่เวลายืดขึ้นมาดูเหมือนเป็นไก่คนละตัว โดยทั่วไปลักษณะการยืนของไก่ มี 3 แบบ คือ
ยืนหยิ่ง มักเป็นไก่เชิงบน คือคุมบนหรือไก่หน้าหงอน
ยืนเฉียง ไก่ที่ยืนเฉียงเป็นมุม 45 องศา มักเป็นไก่ 2 ปีก 2 คอ และเท้าหุ่นตีตัว
ยืนทอด หรือยืนขนานกับพื้น มักเป็นไก่พานขึ้น พานลง หรือเป็นไก่ประเภทเชิงหนักล่าง มุด มัด แบกทะลุลอดขา
3. ลีลาชั้นเชิงของไก่
ไก่ยืนหยิ่งขนหัวเรียบ มักเป็นไก่คุมบน ไก่หน้าหงอน ไก่แปะหน้าตี โดยมากมักจะเป็นไก่ปากไว ตีนไว รับรองว่าต้องเป็นไก่ประเภทปากถึง แข้งถึง
ไก่ขนหัวไม่มาก คือ ไก่ที่ถูกคู่ต่อสู้จิกตีขนหัวล้านไปบางส่วน แต่ยังมีเหลืออยู่บ้าง แสดงว่าเป็นไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงหนักบน ประเภท 2 ปีก 2 คอ หรืออาจจะเป็นไก่ที่พึ่งออกตีเป็นครั้งแรกก็ได้ จึงมีขนหัวอยู่บ้าง อย่าคิดว่าเป็นไก่ลง
ไก่หัวโกลน คือ ไก่ที่ขนหัวไม่มีจนกลายเป็นไก่หัวโกลน คือ ไม่มีขนหัวหลงเหลืออยู่ มีแต่หนังแดงๆ ปกติโดยทั่วไปแสดงว่าเป็นไก่เชิง ประเภท มุด มัด มุดทะลุลอดขา แต่บางตัวไม่ใช่ ที่หัวโกลนนั้นเพราะผ่านสังเวียนมาหลายครั้ง หรือบางตัวเจ้าของถอนขนออก หรือบางคนถึงกับลงทุนโกนทิ้งก็มี เพื่อหลอกให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจผิดว่าเป็นไก่ลง ดังนั้นเวลาเปรียบไก่เวลาเห็นคู่ต่อสู้หัวโล้น อย่าเหมาเอาว่าเป็นไก่ลง ปกติไก่ลงเชิงไม่ดี ไม่มีใครเขาเลี้ยงออกมาตีให้เสียเงิน เสียเวลาหรอก
ไก่ที่มีรอยจิกหลังปีกมีแผลเป็นแดงๆ ไก่ที่รอยแผลเป็นที่หลังปีกแดงๆ มักเป็นไก่ประเภทเชิงหัวลึกพาดอยู่บนหลังคู่ต่อสู้ หรือประเภทเชิงกอด เชิงขี่แทบทุกตัว เวลาตีหย่าแม่ตอนเล็กๆ มักถูกคู่ตีจิกหลัง จิกไหล่ จึงทำให้เกิดรอยแผลเป็นแดงๆ ยิ่งตอนปล้ำหรือซ้อมคู่ ก็อาจถูกคู่ต่อสู้จิกตีซ้ำอีก
4. ลักษณะอื่นๆ
ไก่ปากเบา คือ ไก่ที่เวลาถูกคนจับจะส่งเสียงร้อง กุ๊กๆ หรือ ก๊อกๆ เรียกว่า พอเราจับตัวจะส่งเสียงร้องตลอดเวลา แสดงว่าเป็นไก่ปากไว ประเภทปากถึง แข้งถึง
ไก่แข้งกลมแข้งเล็ก มักเป็นไก่ที่ตีไว ตีแม่น ตีเจ็บ ถือว่าเป็นไก่อันตรายทีเดียว
ไก่ตาแดง มักเป็นไก่ขี้โมโห เวลาถูกตีเจ็บมักเอาคืนและโต้ตอบแรงๆ
ไก่หนุ่ม ไก่ถ่าย คนเปรียบต้องดูลักษณะไก่ออกว่าเป็นไก่หนุ่มหรือไก่ถ่าย ไม่ใช่เชื่อคำบอกเล่าของเจ้าของไก่ หรือดูเดือยอย่างเดียวว่าเดือยสั้นเป็นไก่หนุ่ม ต้องดูลักษณะเกล็ด ดูแข้ง ดูผิวประกอบด้วย
ขนปีก ไก่บางตัวขนน้อย บางตัวขนมาก ไก่ขนน้อยดูตัวเล็ก ไก่ที่ปีกหักหรือตัดปีกออก เวลาจับจะรู้สึกว่าตัวเล็ก แต่ตัวไก่ที่มีปีกเต็ม เวลาจับจะรู้สึกว่าตัวใหญ่ ดังนั้นเวลาเปรียบไก่ต้องสังเกตให้ดี ไม่แน่ใจให้คลี่ปีกดู เดี๋ยวนี้มีเทคนิคการตัดปีกไก่ออกเวลาเข้าเปรียบ พอได้คู่ก็ต่อปีกใหม่ เรียกเหลี่ยมใครเหลี่ยมมัน
ไก่ลักษณะพิเศษ เช่น ไก่ที่ไม่มีเดือย ไก่อกคด ไก่ไม่มีหาง ไก่ปลายปีกงอ ไก่เหล่านี้ปกติไม่เก่งจริงๆ ไม่มีใครเลี้ยงออกตีแน่ ดังนั้นอย่าประมาทไก่พิการ ไก่ที่มีลักษณะไม่ค่อยสมประกอบ อย่าให้เขาได้เปรียบเป็นอันขาดเพราะไก่จำพวกนี้ มักเป็นไก่ที่มีคุณสมบัติพิเศษไม่ธรรมดาแน่ๆ รวมทั้งไก่ที่มีสีไม่มีกุลรุนชาติก็อย่าได้ดูถูก เพราะไก่ไม่ได้ใช้สีตีแต่ใช้แข้งตี
5. คนเปรียบ
ใจเย็น คนเปรียบไก่ต้องเป็นคนใจเย็น อย่าให้คนอารมณ์ร้อน ขี้โมโหเปรียบไก่ เพราะคนขี้โมโห อารมณ์ร้อนโดนยั่วอาจจะตกหลุมพรางของคู่ต่อสู้ได้
อ่านชั้นเชิงคู่ต่อสู้ออก คนเปรียบไก่ต้องเป็นคนที่อ่านทางไก่ออก แม้ว่าจะไม่เต็ม 100% ก็ยังดีกว่าดูไม่ออกเลย คนเปรียบไก่ที่เก่งเขาจะอ่านออกว่าไก่ของเราตีเพลงไหน คู่ต่อสู้มีชั้นเชิงอย่างไร ? เรียกว่ารู้เขารู้เรา เช่น ไก่เราชอบบน เวลาเปรียบก็อย่าให้ เสียเปรียบสูงเป็นอันขาด แต่ถ้าเราได้รอยกว่า แต่ตัวยุบกว่า หากไก่ชอบบนก็เอาได้ แต่ถ้าไก่เราเก่งตีล่าง หน้าคอ หัวปีก เท้าหุ่น ก็ยอมให้เขาได้สูงกว่าประมาณ 5-4 ได้ แต่เราต้องได้เปรียบตัวหนากว่า เป็นต้น
เคล็ดลับของมือเปรียบไก่อีกอย่างหนึ่ง คือ ชอบกดหลังไก่ให้ยืนย่อ จนไก่บางตัวยืนย่อจนเคยตัว บางคนชอบเอาไก่ไปเปรียบอยู่ตรงที่ต่ำเพื่อให้ดูว่าไก่ของตนเตี้ย บางคนก็ตัดปีกทำให้ดูว่าไก่ตัวเล็ก บางคนก็เอาแป้งหรือดินสอพองทาตัวทำให้ผิวของไก่ไม่น่ากลัว สุดแท้แต่ใครจะหากลยุทธ์มาใช้ เพื่อเอาเปรียบคู่ต่อสู้ ข้อสำคัญ เราต้องไม่ประมาท ไม่ดูถูกคู่ต่อสู้ ไม่ถือว่าไก่ของเราเก่งสุดยอดไม่กลัวไก่ตัวใดทั้งสิ้น
หลักการต่างๆที่กล่าวมา คงใช้ไม่ได้สำหรับการเปรียบไก่ทางภาคใต้ เพราะภาคใต้การเปรียบไก่ ห้ามจับไก่คู่ต่อสู้ ได้แต่ดูและสังเกตด้วยตาอย่างเดียว ดังนั้นมือเปรียบจะต้องชำนาญ มองด้วยตาก็สามารถอ่านคู่ต่อสู้ออกว่าสูงหรือต่ำ น้ำหนักมากน้อยเท่าไร สามารถประมาณได้ถูก ว่าได้เปรียบหรือเสียเปรียบอย่างไร?
การคาดการณ์เชิงของคู่ต่อสู้
1. ไก่เชิงยืนแปะหน้าตีกัน ขาตาย ไม่ฟุตเวิร์ก ชอบหน้าคอและตุ้ม การเปรียบถ้าเราได้หนากว่า หรือถ้าเสียเปรียบเตี้ยกว่าหน่อย ก็พอจะตีกันได้ ดูไก่คู่ต่อสู้ขนหัวเต็มๆ คอขนเซาะๆ ยืนตั้งตรง ก้อยเขย่ง แต่ถ้าได้ไหล่เท่ากันจะดี ตัวไหนขนหัวกร่อนๆน่าจะเป็นไก่ลง ไก่มัด หรือยืนตัวเอนๆจับคอแล้วยืดไปข้างหน้าขนหัวเต็ม ขนคอไม่เซาะเป็นไก่เชิง กอด กด ขี่ ไก่ชอบหน้าคอ จั่วลม หงายไพ่ตีตัวเอง ไม่เอาหลบ ยืนตัวทอดขนานกับพื้น จับคอแล้วยึดหน้าอย่างม้าวิ่ง หัวกร่อน มุด มัด หลบซ่อนแน่ๆ ต้องหลบขืนตีด้วยเสี่ยง
2. ไก่ยืนแปะหน้าตีกัน ขาไม่เดิน ไม่ฟุตเวิร์ก ชอบหัวและหน้าหงอน การเปรียบชนถ้าหากสูงพอกันหรือสูงกว่าคู่ต่อสู้จะดี ถ้าต่ำกว่าจะลำบาก จะตะกายเอาหัวไม่ได้ในไก่เชิงเดียวกัน ยืนแปะหน้าเหมือนกัน ถ้าเจอไก่เชิง กอด กด ขี่ บด บี้ ขยี้ ล็อก มัด ลงจิกขา ลอดทะลุหลัง จะเสียเปรียบหนัก เรียกว่า มีลูกหากินน้อย
3. ไก่เชิงยืน(เดินใน) คอกอดบิดซ้าย-ขวา ขาเดินในเร็ว ฟุตเวิร์กดี ชอบหน้าคอ หน้าหงอน หัว กระจายออกมาดีดแข้งเปล่าเข้าบ้อง เข้าตัว เจอไก่ กอด กด ขี่ ถ้าเดินไม่ทันจะกดบ่าตีตัว ไก่เข้าปีกจะกดไม่ให้ออกกรณีเข้ามัดได้แล้ว หรือพยายามขยับปีกและหมุนตัว ไม่ให้คู่ต่อสู้เข้าปีก ไก่แบบนี้เป็นไก่ปากเร็ว เรียกว่าปากถึง ตีนถึง ตีเจ็บ เปรียบสบาย เปรียบได้เชิงอะไรก็ตีทั้งนั้น
4. ไก่เชิง กอด กด ขี่ (มัดและทะลุตูด) เป็นไก่ 2 คอ ประเภทบนจัด ชอบหัวและหูนอก ตีหัวและหลัง ชอบไก่ยืนหรือไก่เชิงบนเหมือนกัน ถ้าเจอไก่มัดจัดลำบาก ไก่เชิงบนจัดอย่างเดียว ถ้าเจอไก่ยืนจะเสียเปรียบ ต่ำกว่าก็อันตราย จะเสียเปรียบสูงมาก มัวแต่จะตะกายตีหัว จะแพ้ไก่ยืน
5. ไก่เชิง กอด กด ขี่ ขยี้ บด บี้ ล็อก มัด (เชิงล่าง ล็อก มัด 60% บน 40%) ประเภทไก่ล่างจัด ถ้าคู่ต่อสู้บนจัด เหลี่ยมคอสู้ไม่ได้ จะเล่นเพลงล่างเข้า มุด มัด ไก่ประเภทนี้มักจะล่ำเตี้ย ส่วนใหญ่จะแพ้ไก่ขี่บนจัด โดยเฉพาะถ้าเสียเปรียบสูงมากๆ เพราะลูกถนัด ลูกหากิน เข้าปีกจะหมดประสิทธิภาพลงทันที ถ้าไม่สามารถทำเชิงมัดปีก ตีสวาปหรือหลังได้ เพราะโผล่หัวออกมาไม่ได้ ในไก่มัดจัดๆถ้าไม่สามารถทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บได้ก็มีแต่จะแพ้อย่างเดียว
6. ไก่เชิงบนมีล่างสลับ เป็นไก่ประเภทบนจัด เดินในดี วงในเหนียวแน่น ถ้าเดินเพลี้ยงพล้ำเสียเหลี่ยมกำลัง จะขวางให้คู่ต่อสู้หลบเข้าปีก หรือท้อง ทำเชิงมัดกลายเป็นได้เปรียบ รูปเชิงไก่เชิงแบบนี้เปรียบตีง่าย เปรียบไม่ให้เสียเปรียบก็พอแล้ว ไม่ต้องคำนึงถึงคู่ต่อสู้ว่าจะเป็นเชิงอะไร

เคล็ดลับในการเปรียบไก่
การเปรียบไก่ทุกครั้ง ให้ดูที่สกุลของไก่เป็นอันดับแรก คือ ดูที่เกล็ดของไก่ ว่าเกล็ดเขาดีไหม เกล็ดเราเป็นอย่างไร ถ้าเกล็ดของเราเหนือกว่าเขา เราค่อยดูตัวของไก่เขาต่อไป ถ้าเกล็ดเราสู้เขาไม่ได้แต่ความแข็งเหนือกว่าก็สามารถตีได้
เทคนิคการเปรียบไก่ในด้านรูปร่าง
เมื่อนำไก่เข้าสู่สนามชน ต้องพักไก่ก่อนสักระยะหนึ่งเพื่อให้ไก่หายเหนื่อย แล้วจึงนำไก่ไปเปรียบ เมื่อนำไก่เข้าสู่บริเวณที่เปรียบ ให้มองหาตัวที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับไก่เรา จึงเข้าไปเปรียบได้ เพราะหากนำไก่ไปเปรียบกับไก่ที่เล็กกว่า อาจถูกฝ่ายตรงข้ามต่อว่าซึ่งผิดมารยาท และหากว่านำไก่ไปเปรียบกับไก่ที่โตกว่าเขาจะหัวเราะเยาะได้ ซึ่งถือเป็นการเสียเหลี่ยม
เทคนิคการเปรียบไก่ในด้านอายุ
เมื่อสังเกตดูแล้วว่าไก่นั้นมีรูปร่างใกล้เคียงกัน ลำดับต่อมาต้องดูอายุของไก่ว่ามีอายุใกล้เคียงกันหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่าไก่ของเราเป็นไก่หนุ่มหรืออายุยังน้อยอยู่ยิ่งต้องดูให้ละเอียดเป็นพิเศษ แต่ถ้าไก่ของเรามีอายุดีแล้วหรือว่าไก่ถ่าย ก็ไม่ต้องกลัวเรื่องอายุ ขอให้รูปร่าง น้ำหนักใกล้เคียงกันก็พอตีกันได้ ในการวิเคราะห์ดูว่าไก่ของฝ่ายตรงข้ามเป็นไก่หนุ่มหรือไก่ถ่ายให้สังเกตดูดังนี้

ให้ดูเดือยก่อนเป็นอันดับแรก หากเป็นไก่ที่เดือยยาวแหลม แสดงว่าเป็นไก่ที่มีอายุดีหรืออาจเป็นไก่ถ่าย ถ้าเดือยมีการตัดเป็นปากฉลามหรือตัดเฉียงนั้นแสดงว่าไก่ก็มีอายุดีแล้ว ถ้าเดือยสั้นและโคนยังไม่แข็ง คือจับดูแล้วยังไม่แน่นมาก เดือยยังโอนเอน นิดหน่อย ปลายไม่แหลมแสดงว่าเป็นไก่ที่อายุยังน้อยหรือไก่หนุ่ม แต่การดูเดือยไก่อาจจะผิดพลาดได้ เพราะเดือยสามารถตัดแต่งได้และสังเกตได้ยาก หากไก่ฝ่ายตรงข้ามเป็นไก้เดือยครุฑหรือเดือยกาม เดือยจะไม่งอกออกมายาว บางตัวอาจไม่มีเดือยเลย จึงทำให้สังเกตได้ยากมาก
ดูเกล็ดแข้ง ธรรมชาติของไก่เมื่อถ่ายขน เกล็ดแข้งก็จะหลุดร่วงหรือเปลี่ยนถ่ายไปด้วย ให้สังเกตดูว่าแข้งไก่มีร่องรอยของการเปลี่ยนเกล็ดหรือไม่ อาจจะมีร่องรอยอยู่ตามรอยเชื่อมของเกล็ดหรือมีเกล็ดที่ยังร่อนหรือร่วงออกไม่หมดติดค้างอยู่ ซึ่งแสดงว่าไก่ตัวนั้นเป็นไก่ที่มีอายุดีหรือถ่ายขนมาแล้ว หรือแข้งไก่อาจมีลักษณะของเกล็ดแห้งที่แข้งมาก เกล็ดแข้งเป็นสัน เกล็ดนิ้วแห้งหนา แสดงว่าเป็นไก่ที่ถ่ายขนมาแล้วหรือไก่ลูกถ่ายนั้นเอง
ดูลักษณะขน ไก่เมื่อถ่ายขนแล้วจะมีขนใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่ว่าจะมีขนเก่าติดอยู่ ทั้งขนตัวและขนหาง ให้สังเกตดูว่าไก่ของฝ่ายตรงข้ามมีขนใหม่และขนเก่าติดอยู่หรือไม่ ซึ่งขนใหม่และขนเก่าจะมีคนละสี ขนหางก็เช่นกัน นั้นแสดงว่าไก่ตัวนั้นเป็นไก่ลูกถ่าย
เทคนิคการเปรียบไก่ด้านน้ำหนัก
โดยการจับไก่วัดกะน้ำหนักดู ว่าไก่ของเรากับของฝ่ายตรงข้ามมีน้ำหนักใกล้เคียงกันหรือไม่ โดยการจับที่กลางลำตัวบีบเข้าพอตึงมือ ยกขึ้นสูงกว่าพื้น จดจำน้ำหนักที่ถ่วงไว้ แล้วเปรียบเทียบให้ใกล้เคียงกัน
เทคนิคการดูความกว้างความยาวลำตัว
ให้ดูว่าไก่ของเรากับไก่ฝ่ายตรงข้าม มีความกว้างของลำตัวหรือแคร่หลังขนาดใกล้เคียงกันหรือไม่ ทั้งด้านหน้าอกและบริเวณแผ่นหลัง เพราะหากไก่ของเราแผ่นหลังแคบกว่า หน้าอกแคบกว่า เมื่อปล่อยลงสนามชน ไก่ของเราจะดูตัวเล็กกว่า และต้องเปิดดูปีกของฝ่ายตรงข้ามด้วยว่า ปีกของฝ่ายตรงข้ามสมบูรณ์หรือไม่ มีปีกครบหรือหักมากน้อยขนาดไหน เพราะหากไก่ของฝ่ายตรงข้ามปีกหักเยอะหรือแทบไม่มีเลย ในเวลาเปรียบดูแล้วความกว้างพอกัน หน้าอกกว้างพอกัน แต่เมื่อคู่ต่อสู้ต่อปีกมาจะยิ่งดูตัวโตกว่าเรามาก และการดูแผ่นหลังนั้นต้องดูความยาวของแผ่นหลังด้วย เพราะไก่ที่ลำตัวยาวจะได้เปรียบไก่ที่ลำตัวสั้น โดยให้สังเกตดูจากการจับและสังเกตดูโดการวัด ด้วยการใช้คืบนิ้ววัดดูหรือกะดูด้วยสายตา ไก่ที่ตัวยาวจะได้เปรียบในเรื่องความสูง เมื่อปล่อยเข้าชน จึงจำเป็นต้องละเอียดรอบครอบให้มากที่สุด
เทคนิคการดูปลายคอ
ไก่ที่มีปลายคอยาว จะได้เปรียบไก่ที่มีคอสั้น ให้สังเกตดูโดยการเตาะใต้คางไก่ทั้งสองตัวให้ยืดเต็มที่ แล้วสังเกตความยาวจากต้นคอถึงหัวของไก่ หากตัวใดคอยาวกว่าจะมีผลในเรื่องของความสูงเมื่อปล่อยเข้าสังเวียน
เทคนิคการเปรียบไก่ด้านความสูง
ในการเปรียบไก่ในด้านความสูงนั้น มีวิธีดูหลากหลายวิธี ในการเปรียบไก่นั้นควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งอย่าให้เสียเปรียบในด้านความสูงเพราะ จะทำให้ไก่ของเราเสียเปรียบในเชิงชนและการบินตี หากชั้นเชิงเท่าเทียมกัน แข็งแกร่งพอกัน แต่เราเสียเปรียบสูง ไก่ของเราจะเป็นตัวที่ต้องเสียเชิงให้กับคู่ต่อสู้ จะทำให้การบินตีไม่ถนัด จะติดปีก ติดไหล่ คือตีได้ไม่เต็มที่ ยิ่งถ้าไก่เราเป็นไก่ตีแผลหู ตา ไปเจอคู่ต่อสู้ที่หัวสูงไม่ยอมลง จะทำให้ไก่ของเราตีไม่ถึงแผลที่ชอบ ถึงตีได้ก็ไม่ถนัด ไม่เต็มปาก เต็มคำ ถ้าสูงกว่ามากอย่าชนเพราะมีโอกาสแพ้สูง วิธีการเปรียบไก่ด้านความสูงมีดังนี้
ให้นำไก่ทั้งสองตัวมาเทียบใกล้ๆกัน แล้วเตาะคางไก่ให้ชูหัวให้เต็มที่ เมื่อมองดูโดยการเตาะใต้คางดูแล้วมีความสูงใกล้เคียงกัน ลำดับต่อมาให้ดูให้ดูที่ความสูงช่วงขา ตั้งแต่พื้นไปจนถึงข้อพับ ดูว่าไก่ตัวใดมีช่วงขายาวกว่า ต่อมาให้ดูที่หัวไหล่หรือบ่าว่าตัวใดบ่าสูงกว่ากันอีกอย่างให้สังเกตดูโคนหาง ว่าตัวใดมีโคนหางสูงกว่า ไก่ตัวที่มีช่วงส่วนต่างๆที่กล่าวมาโดยรวมแล้วสูงหรือยาวกว่า จะได้เปรียบในเรื่องความสูง
เทคนิคการเปรียบไก่ด้านกระดูกเสันสายและผิวพรรณ
ในการดูกระดูกเสันสายและผิวพรรณ ให้วิเคราะห์จากการจับตัวในขณะเปรียบ ไก่ที่กระดูกเส้นสายดี เวลาจับแล้วเนื้อตัวจะแข็ง จะรู้สึกได้ว่ากระดูกแข็ง กระดูกใหญ่ กระดูกดี ลำคอต้องใหญ่มีกล้ามเนื้อลำคอมากและแข็ง ส่วนในเรื่องของผิวพรรณนั้นสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ให้สังเกตในส่วนของ ปั้นขา ลำตัว ลำคอ หน้าอก หากไก่ที่มีผิวพรรณดีจะมีผิวสีแดงสด และผิวพรรณจะดูหยาบกร้านกว่าปกติ นั้นแสดงว่าเป็นไก่ที่ผ่านศึกมาเยอะ แต่ไก่บางตัวถึงแม้จะผ่านศึกมาเยอะแต่ว่าผิวพรรณนั้นดูไม่น่ากลัว คือดูแล้วไม่หยาบกร้าน เนื้อไม่แดงมากมาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ควบคู่กับการจับตัวดูกระดูกและเส้นสายด้วย
การเปรียบไก่ด้านเดือย
ไก่ที่มีเดือยยาวกว่า แหลมกว่า ย่อมได้เปรียบไก่ที่เดือยสั้น ปลายทู้ หากว่าไก่คู่ต่อสู้มีเดือยยาวและแหลมมากก็ไม่ต้องชน เพราะโอกาสที่ไก่ของเราจะเสียไก่จากโดนเดือยแทงมีสูง หากเดือยไก่ทั้งสองตัวมีความยาว ความแหลมใกล้เคียงกัน ก็ตกลงชนกันได้หรือหากพันเดือยควรพันเท่ากัน แต่ถ้าหากไก่เดือยเท่ากันแต่รูปร่างเราเสียเปรียบ เราอาจขอให้คู่ต่อสู้พันเดือยมากกว่าสัก 1-2 รอบ เพื่อเป็นการทดแทนความเสียเปรียบในด้านรูปร่าง
วิธีเปรียบไก่ก่อนชน


การเปรียบไก่เป็นชั้นเชิงของนักเลงไก่ชนทุกประเภท ถือว่าเป็นความสำคัญที่สุดในการชนไก่ก็ว่าได้
เพราะถ้าเปรียบไก่เสียเปรียบคู่ต่อสู้แล้ว ทางชนะมีอยู่แค่ 30% เท่านั้น นอกเสียจากไก่ของเราเก่งมากจริง ๆ จึงจะชนะได้ ถ้าท่านเป็นนักเลงไก่ที่ดีควรเปรียบไก่ให้รอบคอบ อย่าให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้เป็นอันขาด ถ้าเปรียบไก่ได้เปรียบคู่ต่อสู้แล้ว จะเป็นทางนำมาซึ่งชัยชนะอย่างง่ายดาย เคล็ดลับในการเปรียบไก่มีอยู่ด้วยกัน 5 วิธีคือ
1. อายุ ควรพิจารณาคู่ต่อสู้ว่าเป็นไก่รุ่นเดียวกันหรือเปล่า แต่ถ้าของเราเป็นไก่ถ่ายของคู่ ต่อสู้เป็นไก่หนุ่มแล้ว ปัญหาเรื่องอายุก็หมดไป
2. ผิวพรรณ ต้องดูหน้าตาคู่ต่อสู้ว่าหน้าตาแก่กร้านมากกว่าเราหรือเปล่า ถ้าผิวพรรณหน้าตาแก่กร้านมากกว่าเรา การเอาชนะก็จะยาก
3. การจับตัว การเปรียบไก่ต้องจับตัวไก่คู่ต่อสู้ การจับไก่ต้องจับให้แน่นและดูบุคลิกลักษณะของคู่ต่อสู้ว่า แคร่หลัง คอ ปั้นขา ส่วนต่าง ๆ อย่าให้ใหญ่กว่าของเราเป็นการดี
4. ส่วนสูง เราต้องเปรียบตามลักษณะของไก่ของเราชอบ ถ้าไก่ชอบตีบน ควรเปรียบให้ สูงกว่าคู่ต่อสู้ แต่ถ้าไก่ชอบตุ้มชอบคาง ก็ควรเปรียบให้ต่ำกว่าคู่ต่อสู้เล็กน้อย (แต่ต้องให้ตัวของเราใหญ่กว่านิดหน่อยจึงจะพอดีกัน) บางคนชั้นเชิงการเปรียบไก่สูงมากมักจะกดไก่ให้ตัวต่ำมากเวลาเปรียบ
ข้อนี้ท่านต้องพิจารณาให้ดี พิจารณาด้วยตัวของท่านเองว่าจะตีได้หรือไม่ได้
5. การดูสกุลไก่ การดูสกุลไก่ต้องดูว่าลักษณะไก่คู่ต่อสู้มีสีสันอะไร หน้าตาเป็นอย่างไรเกล็ดตามขา
หน้าแข้ง เป็นอย่างไรดีกว่าเราหรือเปล่า ถ้าคู่ต่อสู้มีดีกว่าเรา
เราไม่ควรชนด้วย เพราะโอกาสชนะมีน้อยมาก ถ้าลักษณะคล้ายคลึงกัน การแพ้ ชนะอยู่ที่น้ำเลี้ยงของไก่เอง

ไก่ชนที่ควรหาซื้อโดยไม่ต้องปล้ำ

ไก่ชนมีอยู่ด้วยกันหลายสี ส่วนมากนิยมสีเหลืองหางขาว ประดู่หางดำ และเขียวกา ไก่สามสีเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
แต่ไม่มีในตำรา แต่ประสบการณ์ที่ผู้เขียนเคยพบเห็นมา ส่วนมากชนชนะมากกว่าแพ้ คือ
1. ไก่สีด่างแต่เดือยดำ (ด่างสามสีหรือเรียกว่าด่างดอกมะลิ)
2. ไก่สีเทาเดือยดำ (ตัวสีเทาสร้อยคอเหลือง หรือเทาทอง)
3. ไก่สีเทาเขียวหรือเรียกว่าเทาดำ (ไม่ใช่เทาขี้ควาย)
4. ไก่เขียวแต่คอโกร๋น (ตรงโคนคอไม่มีขน)
5. ไก่ตาดำเดือยดำ
6. ไก่เขียวปากขาว แข้งขาว ตาขาว (ตาปลาหมอตาย)ไก่ 6 ชนิดนี้
ถ้าท่านพบเห็นที่ไหน ไม่ต้องปล้ำก็ซื้อได้เลยแต่อย่าซื้อให้แพงนัก ตามตำราบอกว่าไก่ 6 อย่างนี้
ถ้าเปรียบไม่เสียเปรียบ และร่างการสมบูรณ์ดีเต็มที่แพ้ไม่เป็น
หรือถ้าแพ้ก็ต้องเป็นต่อ จนเจ้าของออกตัวได้ลอยลำจะแพ้รวดเลยไม่มีแน่นอน
(ต้องดูเกล็ดเป็นสิ่งสำคัญทั้งคู่ต่อสู้และของเราด้วย ว่าใครเหนือใคร)

การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง การดูชั้นเชิง

การคัดไก่ที่จะนำมาเลี้ยง
การดูชั้นเชิง
ในอดีตไม่ค่อยพิถีพิถันกับเชิงไก่มากนัก ผู้ชำนาญในการเล่นไก่มักจะพูดว่าหากไก่ยืนดินแน่นๆจะตีแม่นและแรง ปัจจุบันก็มักจะได้ยินนักเลงไก่พูดเหมือนกัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นนักเล่นไก่หัวโบราณ พวกยึดติดกับของเดิม ชาตินิยม ไม่ยอมรับของผู้อื่น กลัวเสียเหลี่ยมนักเลง จึงมักจะซอยเท้าอยู่กับที่ เชิงไก่ในอดีตแบ่งเป็น 3 ประเภทกว้างๆ คือ
1. ไก่ตั้ง หรือไก่ยืน ยังแบ่งออกเป็น
- ยืนเกี่ยว 2 หน้า ชอบตีหัว หน้าคอ ตุ้ม หน้าหงอน ดีมาก
- ยืนชอบหน้าหงอน ดี
- ยืนชอบหน้าคอ ดี ถ้าลำไม่โตก็ไม่ได้เรื่อง
- ยืนเป็นไม่ได้เรื่อง
2. ไก่ลง จะต้องเป็นไก่แข็ง และลำโตจึงจะใช้ได้ ขนหัวไม่ร่วง
3. ไก่พานขึ้น - พานลง ก็มีให้เห็นเก่งเยอะ ขึ้นอยู่กับความเฉลียวฉลาดและลำหัก ลำโค่นของไก่ด้วย
สรุป ไก่เก่งได้ทุกเชิง ขึ้นอยู่กับลำหักลำโค่น ความฉลาด ความแข็งแรง การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ไก่เชิงดีจะเล่นได้นาน และออกตัวได้ดีกว่าไก่เชิงไม่ดี
เชิงไก่ปัจจุบัน
เชิงชนไก่ (ไม่รวมลูกตี) แบ่งเป็น 3 ประเภทกว้างๆ
1. สองคอ (ขี่อย่างเดียว) ดี
2. สองคอ สองปีก (กอด มัด) ดีมาก
3. สองคอ สองปีก สองขา (ขี่ มัด ลง) ดีที่สุด
1. เชิงชน 2 คอ
ในไก่เชิงที่ดีจะต้องเป็นไก่เดินเร็ว (กอด กด ขี่ บด ขยี้ ล็อก มัด เท้าบ่า ม้าล่อ ลงจิกขาลอดทะลุหาง) ไก่ 2 คอเป็นไก่ เชิงบนจัด กอด กด ขี่ ซ้าย-ขวา คออ่อน เหนียวแน่น ถ้าได้เชิงดีจะชนะไก่ได้ไว ยิ่งเจอคู่ต่อสู้ยืนพิงแปะหน้า ยืนดินแน่น ขาไม่เดิน เดินช้า จะเสียเหลี่ยมหงายไพ่ตัวเอง เพราะเดินไม่ทัน ชนะไว ไก่เชิง 2 คอเก่งๆจะต้องกอด กด ขี่ เหนียวแน่น เอาอกทับไหล่คู่ต่อสู้ หัวกดไปที่กลางหลัง โคนคอ ขาเดินไวแน่น เพื่อเข้าท้าย-หลังคู่ต่อสู้ คอจะต้องอ่อน คีบประคองคู่ต่อสู้เหนียวแน่น ค่อยๆรูดจากโคนคอ-กลางคอ-หูนอก-และหัวเรียกว่า หนุไต่ราว ยิ่งถ้าสูงกว่าคู่ต่อสู้ด้วยแล้ว ชนะไว
ข้อเสีย ไก่กอด กด ขี่ ถ้าพบคู่ต่อสู้เชิงเดียวกัน ตีเจ็บพอกัน เกิดเสียเปรียบคู่ต่อสู้ (ต่ำกว่า เล็กกว่า) ถ้าเป็นไก่ 2 คอแท้จะไม่ยอมไก่ จะคัด-บิดคอคู่ต่อสู้ตลอด ถึงแม้จะเพลี่ยงพล้ำก็ไม่ยอมหลบเข้าปีก เมื่อเดินไม่ทันก็จะขวางคู่ต่อสู้ (เป็นไก่ท่องให้ตีเสี่ยงเหมือนกัน)
2. เชิง 2 คอ 2 ปีก
เป็นไก่ที่พัฒนามาจากข้อ 1 ในไก่เก่งจะมีเชิงนี้เยอะ (บน 50 ปีก 50) ไก่เชิง 2 คอ 2 ปีกจะเป็นไก่ฉลาด มีลูกหากินเยอะ นอกจากมีลูกกอด กด ขี่ที่ดีแล้ว ในกรณีเพลี่ยงพล้ำคู่ต่อสู้จะเปลี่ยนกระบวนท่าเชิงบนเป็นไก่เชิงล่างเข้ามุดล็อก มัดปีก ในกรณีที่เดินไม่ทันจะมุดหลบเข้าปีก ทำเชิงมัดรัดปีก หรือเสียเปรียบคู่ต่อสู้ สู้เชิงบน กอด กด ขี่จะสู้ไม่ได้ จะเดินไม่ทัน จะมีลูกแก้ไขเล่นเชิงมัดรัดปีกเข้าสู้ เมื่อคู่ต่อสู้อ่อนล้าจึงเล่นเชิงบน กอด กด ขี่ บดบี้ ขยี้ซ้ำ ถ้าตีเจ็บพอกัน ไม่เสียเปรียบรูปร่างชนะ 80%
3. เชิง 2 คอ 2 ปีก 2 ขา
เป็นเชิงไก่ที่พัฒนามาจากข้อ 1และข้อ 2 เป็นไก่เก่ง เจอไก่เก่งตัวใดมีอาวุธหลากหลายกว่าย่อมได้เปรียบ เรียกว่า 50/50 หากตัวใดมีหมัดหนักอีกต่างหากย่อมได้เปรียบ เชิงลงลอดทะลุขาก็เป็นลูกแก้ไขและสำคัญอีกลูกหนึ่ง ทำให้คู่ต่อสู้ขาอ่อนและหมดแรง ลูกยกดั๊มเท ลูกไถนา ลงลอดขา และบิดคอซ้าย-ขวาโดยเร็วขาคู่ต่อสู้จะอยู่บนหลัง ถ้าไถนาบ่อยๆคู่ต่อสู้จะขาอ่อน หมดแรงไว จาก 1-3 จะต้องเป็นไก่เดินเร็ว หากเดินช้า ความเก่งจะน้อยลง
1. ไก่ขี่ (เดินไว) 5 SPEED (2 คอ) มี 3 ประเภท
1.1 ขี่ เดินใน หัวตั้งตรง 90 องศา (กอด เกี่ยว) ดี หลุดง่าย
ไก่ขี่เดินในเหนียวแน่น กอด เกี่ยว หัวตั้งตรง 90 องศา ถ้าเป็นไก่ปากไว ปากถึง-ตีนถึง จะเก่งชนะได้ไว ถ้าเจอไก่ยืนหรือเกาะเกี่ยวเชิงเดียวกัน ถ้าเจอพม่าก็เจ็บ ถ้าไม่มีลูกหน้าก็จะลำบากเพราะเกาะเกี่ยวหัวสูงจะหลุดง่าย หรือเจอไก่ 2 ปีกจัดๆ ตีหลังตีสวาปแรงจะลำบาก ปลายน้ำแผ่วมีสิทธิ์ถูกล็อก ถูกมัดเป็นไก่โง่เซ่อได้ง่าย เว้นเสียแต่บังคับไม่ให้คู่ต่อสู้เข้าปีกมีลูกหน้าและลูกทุบหลัง ไก่ล็อกมัดเข้าปีกทุบหลังบ่อยๆก็แย่เหมือนกัน ไก่ทุบหลังจัดๆ (ตีเจ็บ) อันหนึ่งขอทุบเพียง 3 ทีก็เหลือเฟือจะชนะ ลูกทุบหลังเป็นลูกที่เซียนไก่กลัว โดนแล้วยุบฟื้นตัวยาก
1.2 ขี่ หัวลึก หัวเฉียง 45 องศา (กอดโคนคอ) ดีมาก
ไก่ขี่หัวลึก หัวเฉียง 45 องศา ปากไว กอด กด ขี่ เหนียวแน่น หัวลึก เชิงชนดูจะปลอดภัยกว่าไก่เชิงขี่ใน กอด เกี่ยว แต่ก็ชนะได้ช้ากว่าเชิงกอด เกี่ยวหัวสูง ไก่ขี่หัวลึกจะได้ทำเชิงรูดโคนคอ เอี้ยวมาหาหูนอกหรือหัว ทำเชิงกระบวนเพลง หนูไต่ราว เด็ดผักบุ้ง ต้องทำเชิงแต่งตัวช้ากว่าจะตีได้ แต่ก็ปลอดภัยกว่าเมื่อเจอพม่า เจอไก่ปีก มุด มัด ก็ 50/50 เจอไก่เดินใน กอด เกี่ยว ก็เสี่ยงเพราะจะตีได้ช้ากว่า ยกเว้นหากมีลูกทีเด็ด ตีลำหักลำโค่นกว่า ลูกเชิงเสียเปรียบต้องวัดกันที่ลูกตี
1.3 ขี่ ล็อก กดโคนคอ-หัว
ขี่ล็อกกดโคนคอรูดมาหาหัว ทำเชิงหนูไต่ราว เด็ดผักบุ้ง ดีที่สุดในกระบวนไก่เชิงขี่ 2 คอ เจอพม่าก็ปลอดภัย กดพม่า พม่าจะยุบจะถอยก็ไม่หลุด เพราะกดโคนคอ พม่าเจอล็อกก็อ่อนใจ เจอไก่ขี่ด้วยกันจะได้เปรียบเชิง ถ้าตีเจ็บพอกันจะได้เปรียบ เว้นเสียแต่ตีเจ็บปวดกว่ากันมาก เชิงดีกว่าก็จะสู้ไม่ได้
ไก่ขี่ดี จะต้องถนัดทั้งซ้าย-ขวา กอดเหนียวแน่น ถ้ารูปร่างไม่เสียเปรียบ ไหล่เท่ากัน ยากที่คู่ต่อสู้จะตีหัวได้ ตรงกันข้ามจะพยายามจับตีคู่ต่อสู้จนได้ ไก่ขี่ดีเหมือนจ๊อกกี้ขี่ม้า ขี่ไม่ดีเหมือนขี่วัวขี่ควาย
เดินหลายจังหวะ ไก่ฉลาดเดินดี มันจะประคองหัวคู่ต่อสู้ตลอดเวลา เรียก "กอดประคอง" คู่ต่อสู้เดินช้ามันก็จะเดินช้า เดินแบบระมัดระวัง คู่ต่อสู้เดินไวมันก็จะเดินไวด้วย เดินอย่างไรก็ได้ให้อยู่ด้านหลังคู่ต่อสู้ บางตัวขี่ส่งเดช(วิ่ง) เดินไวตลอด ทำให้หลุดได้ง่าย เรียกว่าเดินจังหวะเดียว ทำให้พลาดง่าย เมื่อถูกตีจะลนลาน เจอพม่าแพ้ลูกเดียว ลูกแก้ไขในไก่ขี่ถ้าเจอคู่ต่อสู้ในเชิงเดียวกัน รูปร่างพอกัน ลูกตีพอกัน ตัวไหนฉลาดกว่า มีลูกแก้ไขที่ดีกว่าก็จะได้เปรียบคู่ต่อสู้ ลูกแก้ไขมีหลายอย่าง เช่น พอเดินไม่ทันก็จะต้อง
1. กดบ่าตีตัว
2. หลบเข้าปีก มัดตี สวาปทุบหลัง
3. ลงทะลุท้อง เข้าขาโผล่ตูด ตีสวาปหลัง
2. ไก่เชิงมัด(2 ปีก) มี 3 แบบ
1.1 มัดโคนปีก ดีที่สุด
1.2 มัด 7 เส้น ดีมาก
1.3 มัดปลายปีก ดี
ไก่เชิงมัดจะต้องเป็นไก่เดินเร็วจึงจะดี ถ้าเดินช้าความเก่งจะน้อยลง ในกรณีเจอคู่ต่อสู้เดินเร็วกว่าจะมัดลำบาก นอกจากเดินไวแล้วปากจะต้องไวด้วย ถ้าเป็นไก่ลำโตยิ่งเก่งมาก ไก่มัดดีจะต้องเดินหัวใน หัวไวหลบเข้าปีกซ้าย-ขวาได้คล่องแคล่ว โดยคู่ต่อสู้ไม่รู้ตัวจะได้เปรียบอยู่ข้างหลังคู่ต่อสู้ตลอดเวลาจะเป็นตัวตีตลอดแพ้ยาก (ตีสวาป ทุบหลังจะเก่งมาก)
มัดฉลาด ไก่ที่มัดเก่งๆคล้ายมวยตีเข่า เมื่อรัดเอวคู่ต่อสู้แล้วยากที่จะหลุด ไก่ก็เหมือนกันคู่ต่อสู้ดิ้นหลุดยาก ไก่ที่มัดเก่งๆเมื่อหัวเข้าปีกจะรีบบิดคอซ้าย-ขวาโดยเร็ว แล้วเอาอกดันสีข้างคู่ต่อสู้เอาหลังไหล่ดันกระทุ้งปีกโดยเร็ว คู่ต่อสู้ไม่มีทางดิ้นหลุด ถูกมัด ถูกตีบ่อยๆคู่ต่อสู้จะอ่อนลงเรื่อยๆ ส่วนมากไก่มัดจะตีสีข้าง ปั้นขา หลัง ไก่มัดจะหมดความเก่งทันทีถ้าไม่สามารถตีคู่ต่อสู้ได้ ไก่มัดปัจจุบันเรียกว่า ไก่ 2 ปีก(คือ มัดปีกซ้าย-ขวา)
3. ไก่ลง (2 ขา) ลอดทะลุหาง แบ่งเป็น 3 ประเภท
3.1 ลงทะลุหาง พอใช้
3.2 ลงงัด(ดั้ม) ดี-ดีมาก
3.3 ลงฉีกขา (ไถนา) ดีที่สุด(หายาก)
ไก่ลง ไก่เก่งขนหัวจะต้องไม่ร่วง จะดูไม่ออกว่าเป็นไก่ลง มุดเข้าท้องเร็ว คู่ต่อสู้ไม่รู้ตัว รีบกลับตัวเร็ว ไก่ไถนาเก่งๆเวลามุดเข้าท้อง พอหัวทะลุขาไหล่จะอยู่ระหว่างขาไก่ตัวยืน มันจะรีบบิดคอซ้าย-ขวาพร้อมกับยกตัวไก่ตัวที่ยืนจะเสียหลัก จะเดินโขยกเขยกขาเดียว เนื่องจากขาอีกข้างหนึ่งจะอยู่บนหลังคู่ต่อสู้ ภาษามวยเรียกว่า ลูกไถนา คู่ต่อสู้จะหมดแรง ยิ่งถูกไถนานานจะยิ่งหมดแรงไว บางตัวไถนาน 2-3 นาทีกว่าจะหลุด ไก่ไถนาจะตีตูด ตีหลัง หายากมากในปัจจุบันหาได้ยากกว่าไก่เชิงม้าล่อ(ม้าเลาะ)
ไก่เชิงพม่า
1. ถอยแล้วสาด ลักษณะของชั้นเชิงชนในแบบนี้ก็คือ การก้าวถอยหลังรอให้คู่ต่อสู้เดินเข้ามา เมื่อได้จังหวะก็จะสาดแข้งเปล่าเข้าใส่โดยไม่ต้องจับ วิ่งการสาดแข้งเปล่าในลักษณะนี้ จะสร้างความกังวลให้กับคู่ต่อสู้เป็นอย่างมาก ยิ่งโดยเฉพาะไก่ที่กอดเก่งๆ เมื่อมาเจอลีลาถอยแล้วสาดอย่างนี้ยิ่งสร้างความกังวลให้อย่างมาก ลีลาก้มถอยแล้วสาดนี้นับเป็นลีลาเชิงชนสุดยอดที่เซียนไก่พม่ามักนิยมกันอย่างแพร่หลาย และพยายามอย่างยิ่งที่จะหาพม่าเชิงนี้มาครอบครอง เพราะถือว่าเป็นเชิงชนที่เยี่ยมยอดที่สุดของไก่พม่า
2. เดินแล้วสาด ในเชิงนี้จะเป็นลักษณะการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆกับการหาจังหวะในการสาดแข้งเปล่าใส่คู่ต่อสู้โดยไม่ต้องจับ ซึ่งในเชิงนี้ค่อนข้างจะเสี่ยงกว่าเชิงแรกมาก เนื่องจากการเข้าปะทะหน้าตรงๆนั้น หากไปเจอคู่ต่อสู้ที่มีลูกสาดนำ รวมทั้งมีแข้งเปล่า และเป็นลูกผ่านพม่าที่สะสมเชิงถอยสาดเอาไว้ก็จะเจ็บตัวกับอาวุธของคู่ต่อสู้ได้ไม่น้อยทีเดียว
การก้าวเดินหน้าแล้วสาดแข้งเปล่า ผลแพ้ชนะจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับคู่ต่อสู้ด้วยเช่นกัน ในทัศนะของเซียน ไก่พม่าตัวที่เดินเข้าหามักจะเป็นฝ่ายแพ้เสียส่วนใหญ่ ลีลาเดินหน้าแล้วสาดแข้งหากจะให้ดีควรที่จะเสริมลีลาก้มต่ำแล้วส่ายหัวไปมาเข้าไปด้วย เพราะการก้มต่ำนั้นเปรียบเสมือนการซ่อนจุดเปราะบริเวณคอและหน้าเอาไว้ให้ต่ำลง รวมทั้งยังสามารถหลบหลีกได้ในบางจังหวะอีกด้วย
3. ลงต่ำแล้วสาด สำหรับเชิงชนนี้จะยืนนิ่งๆอยู่กับที่เพื่อหาจังหวะสาดแข้งใส่คู่ต่อสู้ ไก่พม่าที่มีชั้นเชิงการยืนนิ่งๆ มักจะเป็นไก่ที่ชอบใช้จังหวะสองได้ดี หากคู่ต่อสู้เข้าหลวมและเสียจังหวะเมื่อไหร่ เจ้าพม่าจะไม่ปล่อยให้พลาดจังหวะอย่างเด็ดขาด มันจะสาดแข้งคมๆเข้าใส่คู่ต่อสู้อย่างไม่ยั้งทีเดียว
4. ถอด เชิงนี้เป็นอีกเชิงหนึ่งที่ดุเดือดเผ็ดมัน เพราะเชิงถอดนี้จะเป็นเชิงที่เมื่อถูกขี่หรือกดคอแล้วไก่พม่าจะถอดชักหัวหรืชักลิ่มออกมาทำให้คู่ต่อสู้หลุดถลำลงต่ำ และในจังหวะนี้เอง ไก่พม่าก็จะจับในระยะกระชั้นชิดพร้อมกับสาดแข้งใส่อย่างดุดัน ซึ่งลีลาการชักลิ่มเป็นการพลิกสถานการณ์ที่รวดเร็วจากการที่โดนกดคุมคออยู่ มาเป็นการชักคอออกแล้วจับหูนอกโดยที่คู่ต่อสู้ไม่ทันระวังตัว
ลีลาการถอด(ชักลิ่ม)แล้วจับหูนอกตีนี้ บางครั้งอาจจะได้พบไก่พม่าบางตัวเข้ากอดและเข้าปีกมัดเป็นเหมือนกัน นั่นเท่ากับลบล้างความเชื่อที่ว่าไก่พม่ามัดไม่เป็น แต่อย่างไรก็ตามน้ำหนักในเชิงนี้ไม่ค่อยจะหนักหน่วงหรือเห็นผลเร็วนัก เนื่องจากจะเป็นการตีในลักษณะหันข้างเสียมากกว่า
5. ม้าล่อ ในเชิงนี้เป็นเชิงพม่าม้าล่อโดยจะวิ่งวนไปรอบๆสังเวียนเพื่อให้คู่ต่อสู้วิ่งตาม จนเมื่อได้ระยะและได้จังหวะแล้วก็จะหันกลับมาสาดแข้งใส่คู่ต่อสู้ จากนั้นก็จะวิ่งต่อ หรือถ้าหันกลับมาสาดแล้วดูท่าทางคู่ต่อสู้มีอาการ ก็จะพันตูต่อกรเพื่อพิชิตศึกทันที ลีลาม้าล่อนี้หากตีคู่ต่อสู้ไม่อยู่ในยกต้นๆจึงมักจะพ่ายแพ้ในยกท้ายๆเสมอ
สำหรับเซียนไก่ที่ต้องการนำไก่ชนของไทยเข้าชนกับไก่พม่านั้น การอ่านเชิงพม่าให้ขาดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ในทุกครั้งที่ทำการเปรียบไก่ คู่ต่อสู้มักจะยอมให้เราจับตัวไก่ได้ และในขณะที่คู่ต่อสู้เผลอนั้น เราสามารถจะทดสอบได้ว่าพม่าตัวนั้นๆเป็นไก่เชิงอะไร คือหลังจากที่จับตัวไก่จนพอใจแล้ว ให้ปล่อยไก่พม่ายืนอย่างสบายๆโดยให้หันหน้าเข้าหาเราแล้วหันท้ายเข้าหาเจ้าของ(กันเจ้าของสังเกตเห็น) จากนั้นก็จับไปที่ลำคอส่วนล่างไกล้ๆสามเหลี่ยมของไก่แล้วบีบเบาๆอย่าให้ไก่เจ็บจนตื่น ไก่พม่าเป็นไก่ที่มี สัญชาตญาณป่าค่อนข้างสูง เมื่อเราบีบที่ลำคอเขา เขาจะแสดงธรรมชาติของเขาออกมาทันทีว่าเป็นไก่เชิงไหน โดยสังเกตได้จากอาการที่เขาแสดงออกดังนี้
1. หากเราบีบแล้ว เขาดึงตัวถอยหลัง แสดงว่าเป็นไก่เชิงถอย
2. หากเราบีบแล้ว เขาหดคอลงแต่ไม่ถอย แสดงว่าเป็นไก่ยืนแล้วสาดจังหวะสอง
3. หากเราบีบแล้ว เขาดึงคอกลับและเบี่ยงตัวออกด้านข้าง แสดงว่าเป็นไก่ถอดหัวดี
4. หากเราบีบแล้ว เขาเสือกหัวขึ้นมา แสดงว่าเป็นไก่กอดเชิงบน
5. หากเราบีบแล้ว เขาขืนตัวดันไปข้างหน้า แสดงว่าเป็นไก่ชอบเดินเข้าหา
ข้อดีข้อเสียไก่ไซง่อน
ข้อดี
1. กระดูกใหญ่ กระดูกแข็งแรง จึงมีไขกระดูกมากและไขกระดูกคือปอดสำรองช่วยหายใจ การส่งกำลังสำรองภายในร่างกายดีมาก จึงมีความอึด ยืดระยะ เมื่อหมดยกอาจดูเพลียๆบ้าง แต่เมื่อให้น้ำแล้วพละกำลังจะกลับคืนสู่สภาพเดิมเร็วมาก ไก่จะดูสดชื่นฟื้นตัวเร็วและหากเบียดสูสีมักจะเป็นตัวชนะมากกว่า
2. กล้ามเนื้อแข็งแรงมาก เนื้อแน่น กระดูกและเส้นเอ็นดีมาก ซึ่งถ้าเปรียบไก่ตีกันโดยวัดรอบอกแบบไทย ไก่ไซง่อนจะได้เปรียบ เพราะมันจะมีน้ำหนักตัวมากกว่าไก่ไทย
3. ปอดและระบบหมุนเวียนเลือด รวมทั้งหัวใจดีมากมันจึงออกกำลังกายได้นานๆ และฟื้นตัวจากการตีเร็วมาก หายเหนื่อยเร็ว ถ้าเลี้ยงได้ที่แล้วในระหว่างที่ตีกันมันจะไม่อ้าปากหอบ เนื่องจากมีสภาพของอวัยวะภายนอกและภายในดีมาก จึงแข็งแรงเร็วเลี้ยงไม่นานก็นำไปตีได้
4. ปากใหญ่ หนา แข็งแรง ประกอบกับกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ดังนั้นเมื่อมันจิกจึงทำให้เกิดบาดแผลที่หนังของคู่ต่อสู้ได้มากกว่า ทำให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ตั้งแต่ต้นเพราะปากจะต้องใช้จับตี หากปากเหนียว ปากทนจะได้เปรียบคู่ต่อสู้มาก
5. หนังหนา หนังเหนียวเปิดแผลยาก ตีให้ฉีกขาดหรือแตกได้ยาก ถูกตีหัวมากๆหัวจะไม่ค่อยบวมด้านหัวไม่ค่อยแตก เมื่อให้น้ำและติดกระเบื้องแล้วหนังหัวเกือบเหมือนเป็นปกติ และในการเลี้ยงไม่ต้องอาบขมิ้นผสมปูนบ่อยครั้ง เพราะหากอาบบ่อยครั้ง จะทำให้ขนเปราะหักง่าย และทำให้ไก่มีขนโรยเร็ว ถ่ายขนเร็ว ทำให้การเลี้ยงชนสั้นลง การมีหนังหนานั้นได้เปรียบมากหากกติกาเป็นแบบพันเดือย หรือสวมนวมเดือย ส่วนมากมีความทรหดสูงมาก แต่จะต้องมีการคัดพันธุ์ด้วย เพราะไก่ไซง่อนบางเหล่าก็จะใจเสาะ ไม่แตกต่างจากไก่ชนสายพันธุ์อื่นเช่นกัน
6. ตีลำหนัก ลำโตและเจ็บปวด ฝังลึกกว่าสายพันธุ์อื่น เมื่อตีเป้าหนาปล่อยแข้งแรงมาก การตีแต่ละครั้งของมันจึงทำให้คู่ต่อสู้เจ็บลึกๆได้มาก ตีไก่ฝังแข้ง ตีไก่หยุดชะงัก ตีไก่ปวด ตีไก่กลัว เช่น ตีตัว เป็นต้น ทั้งนี้เพราะไก่ไซง่อนกระดูกใหญ่แข็งและแข็งแรง โค่นยากจะได้เปรียบคู่ต่อสู้มากหากชนภายใต้กติกาพันเดือยหรือสวมเดือย
7. มีขนาดใหญ่ปานกลางถึงใหญ่ แต่ไม่ใหญ่มากเกินไป จึงเป็นพันธุ์ที่เหมาะในการเป็นพันธุ์ยืนในการผสมพันธุ์ เพื่อสร้างพันธุ์ใหม่
8. มีความอดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวไก่ โดนตีเจ็บแค่ไหนก็จะวิ่งเข้าใส่
ข้อเสีย
1. ส่วนมากเชื่องช้าเนื่องจากกระดูกใหญ่ ตัวใหญ่ วิธีแก้ก็คือ นำไปผสมพันธุ์กับไก่ที่ปากเร็ว เท้าเร็ว และการเคลื่อนตัวเร็ว แต่ไก่ไซง่อนบางเหล่าถ้าหากคัดพันธุ์ดีดีแล้วก็จะมีพวกปากเร็วและเท้าเร็วก็มี สาดเท้าเปล่าก็มี
2. ส่วนมากเชิงไม่มาก เป็นไก่ไม่สู้คอ ส่วนมากแล้วเมื่อถูกเบียดดัน ถูกเลี้ยวคอบังคับถูกคอถูกขี่ มันจะวิ่งท่องมักจะก้มหัว วิ่งเลาะอยู่ประมาณใต้กระเพาะมักจะยืนหัวสูง หรือบางเหล่ามักโชยหัว วิธีแก้ก็คือ คัดเหล่าที่ยืนหัวสูงไปผสมกับไก่พันธุ์อื่นที่มีชั้นเชิงดีและปากเร็ว เท้าเร็วจะได้พันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้น
3. ส่วนมากขนน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุไม่เกิน 4 เดือนขนจะขึ้นช้า ทำให้แพ้ฝน แพ้ลม แพ้ยุง และการแพ้อากาศเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เช่น เป็นหวัดง่าย วิธีแก้ไข คือให้หลอดไฟ เลี้ยงในบริเวณลมไม่โกรก มีแดดร่ม พื้นดินแห้งและมีหลังคากำบังน้ำฝนมากกว่าหลังคาโล่ง กางมุ้งให้ ให้อากาศดีสม่ำเสมอ มีหญ้ากินเพียงพอ และผสมวิตามินรวม วิตามินอี และวิตามีนซีในอาหารและในน้ำให้กินบ่อยๆ นำไปผสมพันธุ์กับไก่ที่มีปีกขนตัวดีจะไดลูกผสมที่มีขนดีขึ้น
4. ได้คู่ชนยาก เพราะรูปร่าง หน้าตาน่ากลัว แข้งใหญ่และแข็งแรง และหนังหนาสีแดง ทำให้เจ้าของไก่คู่ต่อสู้ไม่อยากชนด้วย หากจะชนก็ต้องเปรียบหรือต่อรองน้ำหนัก การนำไปผสมพันธุ์กับสายพันธุ์อื่นจะช่วยซ่อนความน่ากลัวเหล่านี้ได้
5. เปรียว ไก่ไซง่อนเป็นไก่ที่เปรียว ไม่ยอมให้จับง่ายๆ เลี้ยงจนจะออกตีได้อยู่แล้วก็ยังเปรียวอยู่ แต่ลดน้อยลง
6. เดือยไม่ส่ง คือเดือยงอกช้า ยาวช้า กระดูกแกนเดือยเล็ก แต่เปลือกเดือยหนาและแข็งแรง

ไก่ชนไทย


ไก่ชนไทย

ไก่ไทยเป็นไก่ที่มีลีลาฝีตีนแพรวพราว มีทั้งลูกล่อลูกชนยากจะหาไก่ชาติใดๆเสมอเหมือน คือ ทั้ง กอดขี่ บดบี้ ขยี้ ล็อก เท้าหุ่น ตีตัว มุดมัดและมุดลอดทะลุขา เมื่อเปรียบกับไก่ชาติอื่นๆแล้วถือว่าไก่ชนไทยมีภาษีดีกว่าไก่ชนชาติอื่นๆ แล้วทำไมไก่ชนไทยจึงตีต่อสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ หรือเป็นเพียงคำพูดที่กล่าวกันเล่นๆ หรือต้องการโปรโมทไก่ชนต่างชาติ แต่ข้อเท็จจริงแล้วมีดังนี้
1. ไก่ชนไทยกับไก่พม่าลูก 100% ไม่มีโอกาสตีกันได้ หรือตีได้ก็น้อยคู่มาก เพราะขนาดของไก่ไทยกับไก่พม่าเป็นไก่คนละขนาด คือ ไก่พม่าแท้ๆจะมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กก. ตัวที่โต 3.00 กก. ขึ้นมีน้อย ส่วนไก่ไทยตัวที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 กก. ก็มีน้อยแทบนับตัวได้ ยกเว้นไก่ป่าก๋อยที่มีขนาดเล็ก ไก่พม่าที่นำมาตีกับไก่ไทยในทุกวันนี้ ส่วนมากเป็นลูกผสม หรือลูกผ่านที่นำไก่พม่ามาผสมกับไก่ไทย เป็นไก่ที่มีเลือดพม่า 50% บ้าง 25% บ้าง ซึ่งจะมีขนาดโตประมาณ 3.00-3.20 กก. สำหรับไก่ลูกผสมพม่าที่มาตีกับไก่ไทย 100% นั้น ก็มีแพ้ มีชนะ ไม่ได้ชนะไก่ไทยทุกตัว ดังนั้นจะสรุปว่าไก่ไทยสู้ไก่พม่าไม่ได้นั้นจึงไม่เป็นความจริง เหตุที่เขานิยมไก่ลูกผสมพม่า ก็เพราะตัวไก่ลูกผสมตัวใดมีลีลาชั้นเชิงแบบไก่พม่า ก็เป็นไก่ที่สามารถปราบไก่เชิงกอดขี่ได้ ซึ่งไก่เชิงกอดขี่นี้เป็นไก่ที่นิยมเลี้ยงกันมาก ด้วยเหตุนี้เขาจึงนำไก่ลูกผสมพม่ามาเล่นเพื่อแก้ทางไก่เชิง ความจริงไก่พม่าก็แพ้ทางไก่ประเภท เดินอัด เดินบี้จี้ไม่ห่าง จิกหลังจิกไหล่ตี ตีหน้าคอ หน้าอุด ตีตัว ตีหลัง ไก่พม่าทนไม่ได้เพราะกระดูกบาง ถอดใจหนีง่ายๆ อีกอย่างหนึ่ง ไก่พม่ามักจะแพ้ทางไก่ประเภท ลูกหน้าไวและไก่แข้งเปล่า หรือดีดลูกหน้าไว เข้าทำนองหมองูตายเพราะงู ดังนั้นถ้าเราหาไก่ไทยที่มีชั้นเชิงดังกล่าว ก็สามารถสู้ไก่พม่าได้ ไม่ว่าจะเป็นลูก 100% หรือลูกผสม
2. ไก่ชนไทยกับไก่ไซง่อนลูก 100% ไก่ไทยกับไก่ไซง่อนมีโอกาสตีกันได้มากกว่าไก่ไทยกับไก่พม่าลูก 100% เพราะมีขนาดใกล้เคียงกัน ข้อเท็จจริงไก่ไซง่อนมีจุดเด่นมากกว่าไก่ไทยทั่วไป คือ กระดูกโครงสร้างใหญ่ ผิวหนังหนากว่าไก่ไทย ปอดใหญ่กว่า ตีหนัก ลำโต แต่ไก่ไซง่อนมีจุดอ่อนที่อืดอาด ช้าไม่คล่องตัว ลีลาชั้นเชิงมีน้อย ไก่ไซง่อนลูก 100% ไม่น่ากลัว ไก่ไทยสามารถสู้ได้ คือ เราต้องหา ไก่ตีแผล ตีวงแดง ตีบ้องหู และต้องเป็นไก่ปากไว ไก่ไซง่อนที่เขากลัวกันทุกวันนี้ไม่ใช่ไซง่อนลูก 100% แต่เขากลัวลูกไซง่อนผสม ที่ผสมไทย ผสมพม่า เพราะไก่ไซง่อนลูกผสมบางตัวมักเป็นไก่ปากไว ตีแม่นและตีลำโต แถมมีโครงสร้างและผิวพรรณแบบไก่ไซง่อนด้วย
3. เวลาชนของแต่ละยก เรื่องเวลาของแต่ละยกในการชนไก่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไก่ไทยสู้ไก่เทศไม่ได้ เพราะเวลาของการชนแต่ละยกเพิ่มขึ้น จาก 20 นาที เป็น 23-25 นาที เพื่อให้ไก่แพ้ชนะกันไวขึ้น ซึ่งไก่ไทยสู้ไก่ต่างชาติไม่ได้ตรงนี้เอง เพราะไก่ไทยโดยสภาพร่างกายมีปอดเล็กกว่าไก่ไซง่อน ดังนั้นเมื่อยืดเวลาในการตีออกไป ไก่ไทยจะหอบ และถูกตีในช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 20 เป็นต้นไป อีกสาเหตุหนึ่งไก่ไทยเป็นไก่เชิงขยันตี จึงต้องออกแรงมาก ทำให้เหนื่อยมากเหนื่อยไว โดยสรุปภาพรวมแล้ว ไก่ไทยสามารถสู้กับไก่ต่างประเทศทุกสายพันธุ์ได้ ไก่ไทยสู้ได้ขอเพียงแต่
1. นักเพาะไก่ทั้งหลาย ให้เพาะไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงในการตีไว ตีแม่น ตีเจ็บให้มากกว่าไก่เชิง อย่าเอาไก่เชิงมากไปผสมกับไก่เชิงมากเช่นกัน ลูกไก่ที่ได้จะเป็นไก่เชิงล้นไม่ค่อยตี พอไปตีก็มัวแต่เล่นเชิง พอถูกตีตัวและเหนื่อยเข้าก็หมดเชิง แต่ถ้าเพาะได้ ไก่เชิงดี ถี่ แม่น ลำโต ก็สามารถพูดได้ว่าไก่ไทยเก่งที่สุดในโลก
2. ไก่ไทยเป็นไก่หนังบาง ส่วนไก่ไซง่อนเป็นไก่หนังหนา หากตีกันโดยมีการพันเดือยหรือสวมนวม ก็ไปเข้าทางของไก่ไซง่อน หากจะตีกับไก่ไซง่อนต้องตีแบบปล่อยเดือยตามธรรมชาติ ไก่ไซง่อนเจอเดือยเข้าก็สู้ไม่ได้ เพราะไก่ไทยไวกว่า แต่ถ้าตีกับไก่พม่าก็ห้ามปล่อยเดือยเพราะไก่พม่าเป็นไก่แม่นเดือย
3. กำหนดเวลาชน เวลาชนของแต่ละยกต้องอยู่ในเวลา 20 นาทีอย่าให้เกินกว่านี้

เกล็ดนั้นสำคัญไฉน เคล็ดลับตำราคู่เกล็ด

เกล็ดนั้นสำคัญไฉน เคล็ดลับตำราคู่เกล็ด

เกล็ดแซมข้างเดียว เสนียดนัยตา
เกล็ดเท้ายาวหน้านับได้ 21
เกล็ดหลังกำลัง 8 ปอดใหญ่ใจโต
ปู่ตูม ครูเฒ่า กินหมากหรรษา
ครูใหญ่ ตำรา ข้าแม่นนะเฟ้ย
พิสูจน์วัดเลย เล็บหน้ายาวดี
ข้อพับนั้นซิ คือ หมายกำหนด
ตีแม่นได้รส ยกไม่มีฟาล์ว
เช็คบิลเร็วเข้า ดวงดาวสั้นๆ
12 ยกนั้นเพียงอันก็พอ …
เกล็ดเล็บนั้นหนอเป็นครูที่ดี
เกล็ดแซมข้างเดียว ปีกด่าง เดือยดำ
ตำราคลำเป็นไก่ต้องห้าม
ทั้งสองต้องตามเหมือนกันทุกข้าง
ปู่ตูม ชี้ทาง คุ้มกัน กันเอง
เคล็ดลับ ตำราดูเกล็ด เกล็ดหน้า เกล็ดหลังนับอย่างไร ? มีคุณมาก มีคุณน้อย เกล็ดก้อยไก่ชน เกล็ดแซมข้างเดียว ปีกด่าง - ขนดอก เดือยดำข้าง - ขาวข้าง ตีแม่นไม่แม่น นับอย่างไร วัดอย่างไร ? ผลดี ผลร้าย ให้คุณ หรือให้โทษ !?
ถ้าดูอย่างอื่นไม่ออก ให้ดูเกล็ดประกอบเป็นส่วนช่วย
ข้อ 1. นิ้วยาวได้กำหนด นับเกล็ดได้ 21 ขึ้นเป็นฤกษ์ดี เป็นเกล็ดนิ้วกลาง ตกสองพยางค์เลิศล้ำไก่เก่ง หมายความว่า เป็นไก่ชนสกุลรักเดิมพัน ตีชนกับใครมักชนะมากกว่าแพ้ แม้เป็นรองก็พลิกกลับเอาชนะได้ เมื่อมีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสียเป็นสิ่งคู่กัน คือ สิ่งสำคัญอย่าประมาท อย่าเห็นว่ามีดีแล้วจะแพ้ไม่เป็น แพ้ได้ถ้าไม่มีความพร้อม พร้อมหนึ่ง ดูแลเอาใจใส่ให้กำลังใจเมื่อใกล้ชิด พร้อมสอง สุขภาพร่างกายฐานแรก ความสำเร็จ หมั่นการฟิตซ้อม พร้อมเมื่อถึงเวลา พร้อมสาม มือน้ำผู้รู้ใจแก้ไขเมื่อมีปัญหาสามรู้คู่วิชานำมาแห่งชัยชนะ
ข้อ 2. เกล็ดหลังนิ้วก้อย เกล็ดน้อยแต่มีพลังเป็นอาวุธ ยุทโธประการ ประมาณนั้นไซร้ ดุจช้างสารบางสถานการณ์พลิกผันทิ่มแทงเล็บประหนึ่งเดือย เกล็ดหลังพลังมาก นับได้ 8 เป็นแสนดี ตำรากล่าวร้อยวาที ฤทธิเดชนี้ เล็บก้อยเอย ความหมาย อีกลักษณะไก่ดีมีสกุล เกล็ดก้อยหลังนับเรียงกันให้ได้ 8 สรรพคุณ ตำราโบราณกล่าวว่า เป็นไก่ชนปอดใหญ่ ใจโต กำลังดี สู้ได้นาน อึดทนเหนื่อยช้าดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ยืนมั่นคง แข็งแรงดี
ข้อ 3. เปิดตำราสูตรใหญ่ปู่ตูม ทำนาย หาไก่ตีแม่น วิธีง่ายๆให้เอาเส้นไม้กวาดทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่นก็ได้ วัดข้อนิ้วเท้า-นิ้วกลางไก่ชน วัดจากข้อพับนิ้วโคนสุดบนไปจรดปลายเล็บยาวเท่าไร ให้วัดจากที่เดิมตรงข้อพับนิ้วบนสุด วัดขึ้นไปบนแข้ง ข้อพับบน (คือ ข้อขาบน) วัดแล้วยาวสุดที่ตรงไหน ให้ทายว่าตามตำราดังนี้
3.1 วัดได้เสมอกลางแข้ง ไม่ดีตีไม่แม่น ภาษาไก่เรียกว่ายกโกหก คือ ยกผิดยกถูก
3.2 วัดได้เหนือกลางแข้งขึ้นไปเท่าไหร่ยิ่งดี ถ้าวัดได้ถึงข้อพับบนจรดขนข้อพับ ตำราว่าดีนัก ตีแม่น แทงแม่น เรียกว่า ยกถูก ยกดี ยกชัย คือ ยกไม่ฟาล์ว
ข้อ 4.ไก่ต้องห้ามตำราเกล็ดแซม
4.1 เกล็ดแซมข้างเดียวไม่ดี เรียกว่าเกล็ดเสนียดตา
4.2 ข้อดี ถ้าเป็นสองข้าง แซมเหมือนกันไม่เสียไม่หาย คุ้มกันได้
ข้อ 5. ไก่ชนปีกขาว ปีกสีดอก ข้างเดียวไม่ดี เรียกว่าปีกขาว-ปีกดอกเสนียดตาเซียน
5.1 ข้อดี ถ้ามีเหมือนกันสองข้าง ไม่เสีย ไม่หายคุ้มกันได้
ข้อ 6. ไก่ชนเดือยดำข้าง ขาวข้างไม่ดี เรียกว่าเป็นเดือยเสนียดตา
6.1 ข้อดีถ้ามีทั้งสองข้างเหมือนกัน ไม่เสียหายคุ้มกันได้
ข้อ 7. เกล็ดดี เกล็ดร้าย เกล็ดไก่มงคล ข้อดีของเกล็ด เกล็ดใดก็ตาม ผุดขึ้นที่ใด แข้งใด ไก่สกุล สองแข้ง สองนิ้วเหมือนกัน

เทคนิคการคัดเลือกซื้อไก่รุ่นหนุ่มสำหรับมือใหม่


เทคนิคการคัดเลือกซื้อไก่รุ่นหนุ่มสำหรับมือใหม่

ไก่เก่งนั้นจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ
- สายพันธุ์หรือเหล่าที่ดีที่เก่ง
- ลักษณะโหงวเฮ้งดี
ไก่ที่มีสายเลือดไม่ดีแม้จะมีโหงวเฮ้งดี ก็เป็นไก่ไม่เก่ง หรือเก่งได้ไม่นาน คือ จิตใจไม่ดี การซื้อไก่ที่ไม่ได้ปล้ำดูเขาเรียกว่า ไก่เปลือก โอกาสที่จะได้ไก่เก่งนั้นค่อนข้างยาก วิธีการเลือกซื้อไก่รุ่นหนุ่ม รุ่นกระทง มีดังนี้
1. ไก่ฝูง เลือกซื้อไก่ที่เป็นจ่าฝูง และมีร่องรอยการต่อสู้มาตั้งแต่ยังเล็กๆ เพราะถ้าไม่เก่งคงไม่ได้เป็นจ่าฝูง
2. ดูโหงวเฮ้ง ลักษณะไก่เก่งๆสามารถดูลักษณะโหงวเฮ้งตามตำราไก่เก่งมีดังนี้
- ใบหน้า ใบหน้ายาวคล้ายนกยูง คางรัดไม่มีเหนียง ตุ้มหูเล็ก ตาเรียวเล็กสดใส ขอบตานูน กระหม่อมรัดมีรอยไขหัว ปากไม่ยาวไม่สั้นเกินไปมีร่องน้ำและไม่งองุ้มมาก หน้าหงอนบางกลางหงอนสูงปลายหงอนกดกระหม่อม เลยตาดำยิ่งดี ลำคอใหญ่ กระดูกปล้องคอถี่
- ลำตัว จับสวย กระดูกโครงสร้างดี อกไม่คด น้ำขนสวย ขนไม่กรอบ หางพัดยาว และหางมีลักษณะคล้ายฟ่อนข้าว
- ปั้นขา ใหญ่และเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
- แข้ง มักเป็นไก่แข้งกลม แข้งเล็ก อย่างคำโบราณที่ว่า "นกแข้งใหญ่ ไก่แข้งเล็ก" ท้องแข้งอิ่มคล้ายลำหวาย ส่วนไก่แข้งเหลี่ยมที่เก่งก็มีแต่ท้องแข้งต้องอิ่ม มักเป็นไก่ลำโต ตีเจ็บ นอกจากนี้เวลาจับไก่ตรงกลางลำตัวแล้วยกขึ้น ให้สังเกตดูถ้าแข้งและนิ้วทั้งหมดของมันเหยียดตรง ถือว่าเป็นไก่ตีแม่น ยิ่งแข้งทั้งสองเหยียดชิดกัน บางตัวเหยียดทับกัน ยิ่งบ่งบอกให้รู้ว่าไก่ตัวนั้นตีแม่น ตีเจ็บ
- เกล็ด เกล็ด 2 แถวตลอด หรือเกล็ดปัดตลอด ไม่มีแตกไม่มีแซม
- เกล็ด 3 แถวตลอด หรือเกล็ดพยาครุฑ
- เกล็ดกำไล โดยเฉพาะเกล็ดกำไลคาดตรงเดือย ยิ่งมีทั้งสองข้างยิ่งดี
- เกล็ดกากบาท ที่ตรงเดือย
- เกล็ดบัวหลัง เกล็ดบัวหลังต่ำกว่าเดือย ยิ่งเกล็ดบัวหลังแตกยิ่งดีใหญ่
- เกล็ดก้อยแตก มักเป็นไก่ตีเจ็บ
- เกล็ดนิ้วกลาง ถ้ามีแตก มีแซมมักเป็นไก่ตีเจ็บ ส่วนนิ้วอื่นๆไม่ค่อยแน่นอน
- เกล็ดเม็ดข้าวสารและเกล็ดสังวาลย์ เป็นแถว เป็นแนว เป็นระเบียบดี
อื่นๆก็มี ดูท่วงทีการเดินการยืน ไก่ที่เก่งมักจะยืนเป็นสง่า มีราศี ชูคอ หัวปีกยก และมักเล่นสร้อยหรือสะบัดสร้อยอยู่ตลอดเวลา เสียงขันไก่เก่งมักขันเสียงใหญ่ เสียงดังและสั้น หรือห้วนๆ เช่นโบราณว่า "ขันกระชาก หางลากดิน"

วิดีโอพ่อพันธ์.3gp